การศึกษาฟิล์มไคโตซานจากเปลือกหอยเชอร์รี่เสริมสารต้านจุลินทรีย์จากกานพลู กระชายและขิง ในการยืดอายุการเก็บรักษาเนื้อหมูสด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ญาโณณัทฐ์ ถวัลย์เสรีวัฒนา, ภัททิยา โป้ซิ้ว, ศิรดา จันทร์เชย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อารีย์ สักยิ้ม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เนื้อหมูเป็นอาหารที่นิยมบริโภค แต่มีปัญหาคือเน่าเสียได้โดยง่ายและเก็บได้ไม่นาน เกิดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ทำให้ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดจากกานพลู กระชาย และขิงในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เนื้อหมูเน่าเสีย และศึกษาคุณสมบัติของแผ่นฟิล์มไคโตซานจากเปลือกหอยเชอรี่และกัวกัมที่เติมสารสกัดในการยืดอายุเนื้อหมู ทำการทดลองแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมแผ่นฟิล์ม สกัดไคโตซานจากเปลือกหอยเชอรี่โดยใช้สารละลายกรดไฮโดรคลอริกและสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ นำไปผสมกับสารละลายกรดอะซิติกและสารละลายกัวกัมได้สารละลายฟิล์มและขึ้นแผ่นฟิล์ม ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาคุณภาพของแผ่นฟิล์มที่เติมสารสกัดจากกานพลู กระชายและขิง ขั้นตอนที่ 3 การทดสอบประสิทธิภาพของแผ่นฟิล์มที่เติมสารสกัดจากกานพลู กระชายและขิง ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S.aureus และ E.coli ด้วยวิธี Disc diffusion ขั้นตอนที่ 4 การทดสอบคุณภาพและประสิทธิภาพของแผ่นฟิล์มที่เติมสารสกัดจากกานพลูในการยืดอายุเนื้อหมู จากผลการทดลองพบว่า แผ่นฟิล์มที่เติมสารสกัดกานพลูมีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ S.aureus และ E.coli มีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของ Inhibition zone เท่ากับ 8.72 ± 3.52 มิลลิเมตร และ 9.00± 0.00 มิลลิเมตร ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และการขึ้นแผ่นฟิล์มที่เติมสารสกัดจากกานพลูที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน พบว่าแผ่นฟิล์มมีคุณสมบัติทางกายภาพลดลง