การศึกษาประสิทธิภาพของไบโอเซนเซอร์ที่พัฒนาด้วยการใช้แอปตาเมอร์บนพื้นผิวของ เทคนิค SPR ร่วมกับการใช้ Microfluidic Device สําหรับตรวจวัดฮอร์โมน Estradiol(E2) ในน้ําลาย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐชยา จันทร์ดี, ชญานุช ยิ้นซ้อน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุณิสา คงคาลัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การทำโครงงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลและขีดจำกัดความสามารถของการใช้แอปตาเมอร์บนพื้นผิวของเทคนิค SPR ร่วมกับ Microfluidic Device และ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับฮอร์โมนเอสตราไดออลน้ำลาย เนื่องจาก Estradiol Hormone(E2) เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญในร่างกาย ความผิดปกติของระดับ Estradiol สามารถบ่งชี้ถึงโรคและความผิดปกติของร่างกายได้ ซึ่งการตรวจหาปริมาณฮอร์โมนเอสตราไดออลสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเก็บตัวอย่างเลือด และการตรวจน้ำลาย ซึ่งการตรวจน้ำลาย เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจที่ปราศจากความเจ็บปวด แต่ก็มีข้อจำกัดต่างๆ ในปัจจุบันมีการพัฒนาวิธีการตรวจจับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับ โดยเทคนิค SPR คือการตรวจวัดสัญญาณที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาของ analyte(แอนติเจน) กับ ligand ซึ่งอาจจะเป็นแอนติบอดีหรือนวัตกรรมใหม่ที่ได้รับความสนใจอย่างแอปตาเมอร์ แอปตาเมอร์เป็นส่วนสั้นๆของ DNA หรือ RNA ที่สามารถจับการสารที่สนใจได้อย่างจำเพาะเจาะจง จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การใช้้เทคนิค Surface Plasmon Resonance (SPR) เป็นการตรวจเชิงแสงที่มีความแม่นยำสูงร่วมกับ Microfluidic Device ที่มีช่องทางไหลของของเหลวในระดับไมโคร สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับสารที่มีปริมาณต่ำได้ ด้วยเหตุผลดังข้างต้น คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะศึกษาประสิทธิภาพของไบโอเซนเซอร์ที่พัฒนาด้วยการใช้
แอปตาเมอร์บนพื้นผิวของ เทคนิค SPR ร่วมกับการใช้ Microfluidic Device สำหรับตรวจวัดเพื่อติดตามระดับของฮอร์โมน Estradiol(E2) ในน้ำลาย