แก้วกินได้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กฤษฏ์ ชาตะวราหะ, ทินภัทร นาคฤทธิ์, มุฑิตา บุตคำโชติ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พิษณุวัชร์ สวัสดี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อ
จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ในปัจจุบันนั้นมักจะต้องการความสะดวกสบายเป็นส่วนใหญ่ สังเกตได้จากการสร้างเทคโนโลยีเพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกของผู้คนที่เพิ่มมากขึ้น แต่ผลผลิตจากเทคโนโลยีบางอย่างก็ทำให้ปริมาณขยะเพิ่มสูงขึ้นและจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดผลเสียทางสิ่งแวดล้อมมากมาย เช่น มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ เป็นต้น อ้างอิงจากบทความของ ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม ว่าปัจจุบันขยะมูลฝอยจากชุมชนปริมาณมาก ถูกนำไปทิ้งโดยไร้ซึ่งการจัดการอย่างเป็นระบบ โดย กรมควบคุมมลพิษ รายงานปัญหาขยะตกค้างในกรุงเทพมหานครปี 2560 พบว่าใน 1 วัน มีขยะตกค้างถึง 4.2 ล้านตัน ซึ่งเมื่อนำมาเฉลี่ยแล้วพบว่าเราสร้างขยะคนละ 1.5 กิโลกรัมต่อวัน คนไทยมีจำนวน 65 ล้านคน ใน 1 วัน ทั้งประเทศจึงมีขยะสะสมถึง 74,073 ตัน ดังนั้นใน 1 ปี ประเทศเราจึงมีขยะตกค้างมากถึง 27.04 ล้านตัน ปริมาณมากเพียงใดให้ลองนึกถึงตึกใบหยกตั้งอยู่ตรงหน้าจำนวน 147 ตึก นั่นคือปริมาณขยะตกค้างทั้งหมด ที่น่าตกใจคือขยะส่วนใหญ่ที่พบเป็น “ขยะพลาสติก” โดยขณะนี้ทั่วโลกมีพลาสติกถูกผลิตขึ้นกว่า 9,000 ล้านตัน ซึ่งขยะพลาสติก 1 ชิ้นใช้เวลา 450 ปี ในการย่อยสลาย แม้ว่าบางชนิดสามารถนำไปรีไซเคิลได้ แต่เหตุใดยังมีขยะพลาสติกจำนวมหาศาลตกค้างในสิ่งแวดล้อม? คำตอบก็คือ พฤติกรรมการใช้ชีวิต ความมักง่าย ความสะดวกสบาย อะไรๆ ก็ใช้พลาสติก ถุงหิ้ว ภาชนะ หลอด บรรจุภัณฑ์ ทั้งในตลาดเเละร้านสะดวกซื้อล้วนใช้พลาสติก บางครั้งใช้ประโยชน์จากถุงพลาสติกไม่ถึง 1 นาที ออกจากร้านแกะกิน โยนลงถัง กลายเป็นขยะทันที ทั้งขยะทั่วไปและขยะพลาสติกจึงเป็นตัวการทำลายสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในระยะยาว ทั้งนี้ทั้งนั้นแม้ว่าจะมีการบำบัดน้ำหรือแยกขยะแต่ก็ยังไม่พอที่จะลดปัญหาปริมาณขยะและปัญหามลพิษต่าง ๆ ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้ดีพอ พบเห็นได้จากข่าวขยะล้นแหล่งเก็บขยะจนต้องเพิ่มแหล่งเก็บขยะใหม่เข้าไปใหม่เรื่อย ๆ น้ำเสียจนส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์รบกวนผู้คนในระแวกนั้น ๆ และอากาศเสียที่มาจากการกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์ แต่ในปัจจุบันได้มีการนำแนวคิดเรื่องวัสดุทดแทนมาใช้แทนวัสดุที่ก่อมลพิษและทำให้เกิดขยะเพื่อปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ยิ่งดีขึ้น ทางผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของแนวคิดนี้จึงได้ทำการทดลองใช้วัสดุธรรมชาติที่รับประทานได้แทนพลาสติกในการทำแก้ว