การสกัดพอลิแซ็กคาไรด์จากเมือกของผักพื้นบ้านเพื่อใช้เป็นสารให้ความคงตัวในสารนำสีของผลิตภัณฑ์สีน้ำ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัณดา ม่วงนาค, ณิชาภา เลิศอมรวณิช, กวินนา ตามแต่รัมย์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ปาริฉัตร นริศยาพร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสุรนารีวิทยา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในเชิงอุตสาหกรรม เริ่มมีการสกัดพอลิแซ็กคาไรด์จากพืชผักชนิดต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นสารให้ความคงตัว สารช่วยให้เกิดเจล และสารให้ความข้นหนืด โดยปกติแล้ว สารเหล่านี้มีการผ่านกระบวนการต่าง ๆ ในโรงงาน บางชนิดมาจากสัตว์ บางชนิดมาจากพืช เช่น กัมอารบิก เป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรต มีการใช้ในสินค้าประเภทอาหาร หมึกพิมพ์ สารให้กลิ่น และผลิตภัณฑ์ด้านศิลปะ เพื่อเพิ่มความคงตัวของสิ่งที่ผลิต ซึ่งกัมอารบิกเป็นสารเสริมที่ทำมาจากยางไม้ มีถิ่นกำเนิดบริเวณทวีปแอฟริกา ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้ากัมอารบิกนี้ คณะผู้จัดทำจึงเกิดความคิดที่จะพัฒนากัมจากผักพื้นบ้านของไทย เพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในที่นี้ คณะผู้จัดทำเลือกทดลองผลิตสีน้ำ โดยใช้กัมผักพื้นบ้านคือ กระเจี๊ยบเขียว ผักปลัง และเห็ดหูหนูดำเป็นสารนำสี โดยสกัดสารคงตัวนี้ด้วยน้ำอุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส และนำเมือกผักมาตกตะกอนด้วยเอทานอล เพื่อให้ได้สารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์ สามารถนำส่วนนี้ไปใช้ได้ในทันที หรือนำไปอบแห้งและบดเป็นผง เพื่อง่ายต่อการเก็บรักษาได้เช่นกัน และเม็ดสีจากธรรมชาติ รวมทั้งเม็ดสีที่ได้จากการสังเคราะห์ สุดท้ายจึงนำมาผลิตสีน้ำ โดยทำสารนำสีจากกัมผักพื้นบ้านและกลีเซอรีน จากนั้นจึงผสมผงสี บดให้เรียบเนียน แล้วจึงนำมาวัดระยะการกระจายตัวของสี และระยะเวลาในการแห้ง เพื่อผลิตสีน้ำที่มีคุณภาพ เหมาะแก่การนำไปใช้งานจริง