ผลของความเค็มต่อการเพาะปลูกพืชผักให้มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วริทธพัฒน์ ชัยวร, รวิสรา สกิจกัน, วริทธพร ชัยวร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ปิยะ ไชยอ้าย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
พืชที่มีสภาวะความเครียดที่เกิดจากปัจจัยภายนอก และสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ส่งผลให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติไปจากเดิม ซึ่งสภาวะแวดล้อมนั้นมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดในพืช จะชักนำให้เกิดอนุมูลอิสระในพืชเกิดเป็น oxidative stress ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการป้องกันตนเองที่ทำให้เซลล์พืชเสียหาย และตายในที่สุด ส่วนในพืชที่มีการปรับตัวโดยการแสดงออกเพื่อตอบสนองต่อสภาวะเครียดต่างๆ เช่น เมื่อพืชเกิดความเครียดจากความหนาวเย็น (cold stress) เครียดจากความแห้งแล้ง (drought stress) หรือเครียดจากความเค็ม (salinity stress) เมื่อพืชได้รับความเครียดต่างๆ พืชจะมีการแสดงอาการผิดปกติหรือปรับตัวเพื่อให้เจริญได้ภายใต้สภาวะความเครียดเหล่านั้น หากพืชได้รับความเครียดที่ไม่รุนแรง และได้รับในระยะเวลาอันสั้น พืชจะปรับตัวโดยการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ หรือสร้างสารประกอบทุติยภูมิขึ้นมา ด้วยเหตุนี้ทางผู้วิจัยได้สังเกตการเพาะปลูกพืชผักผลไม้ในประเทศไต้หวัน โดยมีการบริหารจัดการการเขตกรรมของการเพาะปลูก ซึ่งเป็นการเกษตรที่มีแนวคิดที่จัดโซนนิ่ง (Zoning) โดยแบ่งพื้นที่ในการปลูกพืชผักผลไม้ด้วยปัจจัยเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินรวมถึงความเค็มในดินเป็นปัจจัยในการแบ่งเขตเพาะปลูก ในเขตพื้นที่ที่ติดทะเล ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวดินมีความเค็มเล็กน้อยถึงปานกลาง เกษตรกรได้ทำการเพาะปลูกไม้ผลเศรษฐกิจหลายชนิดได้แก่ ชมพู่ แก้วมังกร ฝรั่ง ซึ่งผลผลิตของไม้ผลเหล่านี้มีรสชาติดี มีความหวานอร่อย ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการปลูกพืชผักที่มีรสชาติดี มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ด้วยการควบคุมความเค็มในการเพาะปลูกพืชผักเพื่อเป็นการสร้างกลยุทธ์ในการส่งเสริมการปลูกผักเพื่อเศรษฐกิจต่อไป
จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะผลของความเค็มต่อการเพาะปลูกพืชผักให้มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของความเค็มต่อการเจริญเติบโตของพืชผัก และปัจจัยความเค็มที่เหมาะสมในการเพาะปลูกพืชผักที่ก่อให้เกิดการสะสมน้ำตาลและสร้างสารต้านอนุมูลอิสระพืชผักที่ใช้ในการทดลองได้แก่ ต้นถั่วงอก โดยจะศึกษาปัจจัยของความเค็มต่อการเพาะปลูกที่ก่อให้เกิดความเครียดและเกิดการต้านทานในพืชผักหาร้อยละระดับความเค็มของน้ำที่ใช้เพาะปลูกพืช หาปัจจัยการเจริญเติบโตของพืชผักและศึกษาผลของสภาวะความเครียดที่เกิดจากความเค็มต่อความหวานและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระหาความหวานพืช (%บริกซ์) หาปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ (วิธี DNS) หาร้อยละการยับยั้งอนุมูลอิสระ (วิธี DPPH)