กระถางปูนแคลเซียมจากวัสดุเหลือใช้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สิริชุดา จิตรัว, ชญานิษฐ์ เรืองดิษฐ์, นันทนุช ชุมแก้ว
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ผกากรอง โยธารักษ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
กระถางปูนเปลือย ปัจจุบันเป็นที่นิยม เพราะด้วยรูปลักษณ์ สี ที่มีความสวยงาม มีความแข็งแรง ทำให้กระถางปูนเปลือยมีราคาแพง มีน้ำหนักมาก และการใช้งานพลาสติกที่เพิ่มมากขึ้น นำมาสู่ปริมาณขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย จึงหาวัสดุเหลือใช้ เช่น ถุงพลาสติก โฟม ฟิวเจอร์บอร์ด เปลือกหอย เพื่อทดลองประดิษฐ์กระถางปูนเปลือยที่มีน้ำหนักเบาลงและราคาถูกลง
ดังนั้น การประดิษฐ์กระถางปูนเปลือยจึงมีการนำปูนซีเมนต์จากเปลือกหอยมาใช้เพื่อลดการใช้ปูนซีเมนต์ เนื่องจาก เปลือกหอยประกอบด้วยสารจำพวกแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลือเป็นสารอื่น ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบคล้ายกับปูนซีเมนต์ที่ได้จากการนำแคลเซียมคาร์บอเนตจากหินปูน และการนำ ฟิวเจอร์บอร์ด ถุงพลาสติก และโฟมมาใช้เป็นส่วนประกอบในการประดิษฐ์กระถางปูนเปลือยจึงทำให้ประหยัดต้นทุนและได้ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดโลกร้อน ลดปริมาณขยะพลาสติก และโฟม