การศึกษาประสิทธิภาพของสารเคลือบผิวว่านหางจระเข้และสารสกัดหยาบขมิ้นชันเพื่อยืดอายุเก็บรักษาของกล้วยหอมทอง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ญริดา รัตนวรรณี, ปรายฟ้า บุรีศรี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จินดา โพนะทา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันเศรษฐกิจของไทยก็ได้เจริญเติบโตขึ้นไปมากไม่ว่าจะเป็นจากการส่งออกอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือการส่งออกพืชผลทางการเกษตร โดยในการส่งออกพืชผลทางการเกษตรของไทยนั้นมีกล้วยหอมทองที่เป็นหนึ่งในพืชผลทางการเกษตรที่ถูกส่งออกมากที่สุดชนิดหนึ่ง การผลิต การตลาดของกล้วยหอมทอง และในการเรื่องของการส่งออก โดยเฉพาะในตลาดญี่ปุ่นที่มีความต้องการกล้วยหอมทองของไทยสูง ในปี 2559 ไทยมีเนื้อที่เก็บเกี่ยวทั้งหมด 37,020 ไร่ มีผลผลิต 117,427 ตัน ผลผลิตต่อไร 3,172 กิโลกรัม มีจำนวนใช้ในประเทศ 113,703 ตัน ส่งออกกล้วยหอมสด 3,725 ตัน คิดเป็นมูลค่า 81.40 ล้านบาท ราคาส่งออก 21,955 บาท/ตัน มีคู่ค้าที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น จีน ลาว และมีคู่แข่งคือ ฟิลิปปินส์ เอกวาดอร์ และคอสตาริกา โดยญี่ปุ่นได้ให้โควต้ากล้วยหอมทองจากไทยปีละ 8000 ตัน แต่ไทยสามารถส่งออกได้เพียง 3000-4000 ตันเท่านั้น ตลาดต่างประเทศก็ยังคงมีความต้องการของกล้วยหอมทองสดในปริมาณมาก แต่ทั้งนี้ในด้านการผลิต และส่งออกกล้วยหอมทองก็ยังคงประสบกับปัญหามากมาย (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2017) เนื่องจากกล้วยเป็นผลไม้ประเภท climacteric fruit ซึ่งมีอายุการเก็บรักษาสั้นและมีการเปลี่ยนแปลงหลังเก็บเกี่ยว
วิธีแก้ไขปัญหาผลผลิตเสียหายที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือการเคลือบผิวผลไม้ การใช้สารเคลือบจากธรรมชาติเพื่อลดอัตราการใช้สารเคมีในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีและโรคหลังการเก็บเกี่ยวอื่น ๆ โดยเฉพาะเชื้อรา การสูญเสียน้ำหนัก และ การเสื่อมสภาพของผลผลิตได้เป็นอย่างดี (Baldwin, 1994) การเคลือบผิวผลไม้จะไปทดแทนแวกซ์ตามธรรมชาติ โดยการเคลือบผิวผลผลิตจะช่วยปิดรอยเปิดตามธรรมชาติ รวมทั้งรอยแผลที่เกิดขึ้นภายหลังการปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว (Baldwin et al., 1977) อีกทั้งสารเคลือบผิวยังสร้างสภาพแวดล้อมของผลผลิตโดยช่วยลดอัตราการหายใจ และลดการสังเคราะห์เอทิลีนซึ่งเป็นฮอร์โมนในพืชที่ช่วยในเรื่องการสุกของผลลงด้วย โดยการเคลือบผิวสามารถจำกัดการแลกเปลี่ยนแก๊สทำให้ภายในผลมีปริมาณแก๊สออกซิเจนต่ำ และคาร์บอนไดออกไซด์สูง ส่งผลให้ขบวนการสังเคราะห์เอทิลีนหยุดชะงัก จึงช่วยชะลอกระบวนการสุกได้ (ดนัย บุณยเกียรติ, 1997) โดยพบว่าเนื้อเยื่อส่วนวุ้นใสของว่านหางจระเข้สามารถนำมาทำเป็นสารเคลือบได้ และสารสกัดขมิ้นชันพบว่ามีสารทูเมอโรน (turmerone) ที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ลดอาการ อักเสบของผิวหนังและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ลดอัตราการเกิดโรคที่ตามมาหลังการเก็บเกี่ยวได้ (Shagufta et al., 2010)
ฉะนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาผลของสารเคลือบผิวว่านหางจระเข้ร่วมกับสารสกัดขมิ้นชันซึ่งเป็นสารเคลือบจากธรรมชาติ เกษตรกรสามารถหาได้ภายในท้องถิ่นเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และการลดความสูญเสียของกล้วยหอมทองระหว่างการวางจำหน่ายได้โดยการใช้วิธีการเคลือบผิวด้วยสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อลดการใช้สารเคมีและส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ เป็นมิตรต่อผู้ผลิต ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมต่อไป