การศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมต่อวัสดุรองนอนของสัตว์ทดลองที่ทำจากใยมะพร้าวชุบกรดออกซาลิกความเข้มข้น 1%

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ขวัญชนก จุ้ยสกุล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัชพงษ์พัฒน์ คันธวิวรณ์, สุภาพ แป้นดี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนชลกันยานุกูล

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จากการคำนวณค่าใช้จ่ายวัสดุรองนอนที่ใช้ในศูนย์วิจัยสัตว์ทดลอง มหาวิทยาลัยพะเยา มีการเปลี่ยนวัสดุรองนอนตามระบบการเลี้ยงเฉลี่ย 80 - 100 กิโลกรัมต่อครั้ง (เปลี่ยนทุก 2 วัน) หรือคิดเป็นปีละประมาณ 10 – 13 ตันต่อปี ซึ่งมีรายจ่ายสูงถึง 4,300,000 บาทต่อปี การศึกษาวัสดุรองนอนเพื่อทดแทนการนำเข้าจึงมีความสำคัญอย่างมาก จากการศึกษาใยมะพร้าวชุบกรดออกซาลิก 1% สกัดจากเปลือกมันสำปะหลัง มีคุณสมบัติพื้นฐานที่เหมาะสมในการนำมาใช้เป็นวัสดุรองนอนสำหรับสัตว์ทดลอง ที่ใช้วัสดุท้องถิ่นและวัสดุเหลือทิ้งในการทดแทนเพื่อลดค่าใช้จ่าย 3,500,000 กว่าบาท ในการนำเข้าขี้กบจากไม้เนื้ออ่อนต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามยังควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงช่องว่างที่สำคัญ ในปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของวัสดุรองนอน ซึ่งจะมีการตรวจสอบผลกระทบของตัวแปรสภาพแวดล้อม คือ อุณหภูมิ ความชื้น การสัมผัสแสง การระบายอากาศ จุลินทรีย์ที่เกิดขึ้น และเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับคุณสมบัติทางกายภาพเดิม เช่น ปริมาณที่ดูดซับแอมโมเนีย ปริมาณความชื้น ปริมาณการเกิดฝุ่นก่อนใช้งานและหลังใช้งาน

เป้าหมายหลักของโครงงานนี้คือการให้ข้อมูลเชิงลึกต่อยอดการศึกษาเดิม เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในด้านการจัดเก็บและการใช้งานของวัสดุที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาดที่ดีต่อทั้งสุขภาพของสัตว์ทดลองและคนดูแล ซึ่งผลการศึกษานี้จะทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่เพื่อนำมาวิเคราะห์ความทนทานต่อปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม การกักเก็บความชื้น และความสะอาดของกรดออกซาลิกเมื่ออยู่ในอุณภูมิปกติในระยะเวลาที่ทำการทดลอง และนอกเหนือจากการปรับปรุงประสิทธิภาพของวัสดุรองนอนแล้ว งานวิจัยนี้ยังเพิ่มมูลค่าให้กับพืชเศรษฐกิจใยมะพร้าวของประเทศไทย ซึ่งไทยปลูกเป็นอันดับ 10 ของโลก (FAO 2020) อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการกำจัดเปลือกมันสำปะหลังอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ