การศึกษาสารสกัดแอนโทไซยานินในซังข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงที่ยับยั้งการเจริญเติบของของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ในแผลกดทับระยะที่ 2
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จิรวรรณ หนูเล็ก, นวิปรียา ฉิมชาติ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ทัศนียา อ่อยอารีย์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่ประสบปัญหาแผลกดทับ ทำให้เกิดแผลพุพอง และเกิดการรุกรามเป็นแผลขนาดใหญ่ ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus จากการศึกษา พบว่าสารแอนโทไซยานินในซังข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง ซึ่งสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ได้ ทั้งนี้การนำซังข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงที่เป็นของเสียนำกลับมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการเกษตร ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และช่วยลดของเสียให้เหลือน้อยลง คณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นประโยชน์และความสำคัญของซังข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง จึงจัดโครงงานนี้ขึ้น เพื่อหาความเข้มข้นของสารแอนโทไซยานินที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ด้วยการสกัดสารแอนโทไซยานินจากข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงด้วยวิธีอัลตราโซนิคคือ ส่วนที่ 1 การเตรียมซังข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงโดยการนำซังข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงเข้าตู้อบแห้งที่อุณหภูมิ จากนั้นทำการบดละเอียดด้วยเครื่องบดสมุนไพร และคัดแยกขนาดด้วยตะแกรงร่อน และนำใส่ภาชนะที่มีฝาปิด ส่วนที่ 2 การสกัดสารแอนโทไซยานินจากซังข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงร่วมกับอัลตราโซนิก โดยชั่งผงข้าวโพดน้ำหนัก 2 g ใส่ลงในขวดรูปชมพู่เติมเอทานอล จากนั้นนำไปจุ่มใน Ultrasonic Bath ด้วยความถี่ 38.5 kHz เป็นเวลา 30 นาทีแล้ว นำไปกรองด้วยกระดาษกรองเบอร์ 1 ภายใต้สุญญากาศ เพื่อแยกกากผงซังข้าวโพดออกจากสารละลาย จากนั้นล้างกากด้วยอะซิโตนในสภาวะกรด นำสารละลายที่ได้ใส่กรวยแยก และเติมคลอโรฟอร์ม เขย่าสารละลายให้เข้ากันแล้วตั้งทิ้ง เพื่อให้เกิดการแยกชั้นของสารละลายอย่างสมบูรณ์ จากนั้นแยกของเหลวชั้นล่างออกและนำของเหลวส่วนบนของกรวยแยกไประเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ ที่อุณหภูมิ 40°C เป็นเวลา 30 นาที จากนั้นนำสารละลายที่สกัดได้ไปวิเคราะห์และคำนวณหาปริมาณสารแอนโทซายานินทั้งหมด (Totalanthocyanins) ที่สกัดได้ด้วยวิธี pH differential method ส่วนที่ 3 การทดสอบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ส่วนที่ 4 การเตรียมเชื้อทดสอบ Staphylococcus aureus บนอาหารเลี้ยงเชื้อ Nutrient agar แล้วนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 35°C เป็นเวลา 18–24 ชั่วโมง 1 จากนั้นเขี่ยโคโลนีเดี่ยวประมาณ 4–6 โคโลนี ลงในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว (Mueller Hinton Broth) แล้วนำไปบ่ม จากนั้นนำอาหารเลี้ยงเชื้อมาเติม และทำการทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ (Minimal inhibitory concentration, MIC) และ ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อได้ (Minimal bactericidal concentration, MBC) การทดสอบหาค่า MIC ด้วยวิธี Broth dilution technique ทั้งนี้ ทางคณะผู้จัดทำหวังว่าการทำโครงงานนี้จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการการพัฒนาสมุนไพรไทยให้มีคุณภาพและปลอดภัยมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถนำมาต่อยอดเพื่อส่งเสริมการแพทย์แผนไทยได้อีกด้วย