สารสกัดหยาบจากผักชีลาวเพื่อละลายโฟมพอลิสไตรีน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อนุสรา คงโนนกอก, รุจิรดา ตันใจเพชร, จุฑามาศ มหาวรรณศรี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ทองเพียร สิงห์ชัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันการใช้โฟมพอลิสไตรีนสำหรับบรรจุอาหารยังเป็นปัญหาซึ่งยากต่อการกำจัด ทั้งนี้เนื่องจากขยะจากโฟมพอลิสไตรีนนั้น มีระยะเวลาในการย่อยสลายตามธรรมชาตินาน หากใช้วิธีเผาทําลายจะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศและเกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุจากสารบางชนิดที่เกิดจากการเผาจะลอยขึ้นไปทําลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ จากการศึกษาข้อมูลของผู้วิจัย พบว่า ลิโมนีนและไพนีน ที่พบในเปลือกพืชตระกูลส้ม เป็นสารที่สามารถละลายโฟมพอลิสไตรีนได้ และศึกษาพบว่าสารสำคัญดังกล่าวยังพบได้บริเวณลำต้นและใบของผักชีลาวนอกจากนี้ สาร α-Phellandrene และ β-phellandreneในผักชีลาวยังมีส่วนช่วยในการละลายโฟมพอลิสไตรีนอีกด้วย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะนำสารสำคัญในผักชีลาวดังกล่าวมาทดสอบความสามารถในการละลายโฟม โดยจะศึกษาและเปรียบเทียบปริมาณสารสกัดหยาบที่ได้ ด้วยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย เมื่อใช้ตัวทำละลายเฮกเซนและโทลูอีน ที่ความเข้มข้น 10%, 20%, 30%, 40% และ 50% แล้วนำโฟมพอลิสไตรีนที่ละลายได้ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ทำเป็นกาวน้ำหรือวัสดุคอมโพสิตต่อไป