ศึกษาสูตรอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อยับยั้งเชื้อไฟโตพลาสมาที่ก่อให้เกิดโรคใบขาวในเนื้อเยื่ออ้อย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พิมพ์มาดา แมนประโคน, ภาวัชญา ศรีดาชาติ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กัลยาณี วัฒนธีรางกูร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การที่อ้อยได้รับเชื้อไฟโตพลาสมาที่ก่อให้เกิดโรคใบขาวในเนื้อเยื่ออ้อย ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก ทำให้ได้ผลผลิตต่ำหรือไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ อีกทำให้เกษตรกรต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่าย โดยต้องไถออกทั้งไร่หากมีการลุกลามของโรคนี้ในวงกว้าง ดังนั้นวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยใช้สูตรอาหารที่ผสมเตตระไซคลิน ที่ช่วยยับยั้งเชื้อไฟโตพลาสมาที่ห่อให้เกิดโรคใบขาวในเนื้อเยื่ออ้อย ทำให้ได้อ้อยที่ปลอดโรคใบขาวและต้านทานโรคเหมาะสำหรับการนำไปปลูก

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากเตตระไซคลิน และศึกษาผลการยับยั้งเชื้อไฟโตพลาสมาที่ก่อให้เกิดโรคใบขาวในเนื้อเยื่ออ้อย

วิธีดำเนินการ

  1. เตรียมสูตรอาหารผสมเตตระไซคลิน สำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยนำ MS ,GA ,NAAและเตตระไซคลินมาผสมเข้าด้วยกันและเติมน้ำกลั่นปรับค่า pHให้ได้ 5.7 นำวุ้นมาผสมและหลอมให้ละลาย จากนั้นบรรจุลงในขวด 30 ขวดและนำไปนึ่งฆ่าเชื้อและเก็บไว้ในห้องเพาะเชื้อเป็นเวลา 1 สัปดาห์ก่อนนำไปใช้

  2. เตรียมสูตรอาหารชุดควบคุม สำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยนำ MS ,GA และNAA ผสมเข้าด้วยกันและเติมน้ำกลั่นปรับค่า pHให้ได้ 5.7 นำวุ้นมาผสมและหลอมให้ละลาย จากนั้นบรรจุลงในขวด 30 ขวดและนำไปนึ่งฆ่าเชื้อและเก็บไว้ในห้องเพาะเชื้อเป็นเวลา 1 สัปดาห์ก่อนนำไปใช้

  3. ตัดอ้อยบริเวณเนื้อเยื่อเจริญปลายยอด ฟองฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์และโซเดียมไฮเปอร์คลอไรก็และตัดให้ได้ขนาด 0.6 มิลลิเมตร 30 ชิ้น

  4. นำเนื้อเยื่อที่ตัดและฆ่าเชื้อแล้วมาวางบนอาหารเพาะเลี้ยงที่ผสมเตตระไซคลินและอาหารชุดควบคุมอย่างละ 15 ชิ้น แล้วนำไปเลี้ยงในห้องเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 2 เดือน