วัสดุกันกระแทกจากธรรมชาติ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธนวรรณ โฉมศรี, พรรัตน์ กรรณมณี, สุนิศา โกตน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สุกัลยา วงค์ใหญ่, ชิด วงค์ใหญ่

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา"

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาประสิทธิภาพในการลดแรงกระแทกของวัสดุกันกระแทกจากธรรมชาติ โดยเปรียบเทียบชนิดและขนาดของวัสดุธรรมชาติ ชนิดและอัตราส่วนตัวประสานที่มีผลต่อความสามารถในการขึ้นรูป ประสิทธิภาพ ในการลดแรงกระแทก พบว่า ไส้ต้นสาบเสือ ไส้ต้นโสน ไส้ต้นมันสำปะหลัง ไส้หญ้าถอดปล้องสามารถขึ้นรูปได้กับตัวประสาน ทุกชนิด แผ่นกันกระแทก มีลักษณะคล้ายโฟมและฟองน้ำ ตัดเป็นชิ้นได้ เมื่อทดสอบการคืนรูปหลังการกด พบว่า แผ่นโฟมมีค่าการคืนรูปหลังการกดมากที่สุด คือ 8.90± 0.46 มิลลิเมตร รองลงมา คือ แผ่นจาก ไส้หญ้าปล้องผสม น้ำเมล็ดแมงลักคา และแผ่นจากไส้หญ้าปล้องผสมน้ำหมักชีวภาพ ตามลำดับ ส่วนประสิทธิภาพการเป็นวัสดุ กันกระแทก พบว่า แผ่นโฟมมีประสิทธิภาพดีที่สุด คือ มีการยุบของดินน้ำมันเพียง 2.80± 0.40 มิลลิเมตร รองลงมา คือ แผ่นจากไส้หญ้าปล้องผสมน้ำเมล็ดแมงลักคา และแผ่นจากไส้หญ้าปล้องผสมน้ำเมล็ดแมงลักคา ตามลำดับ การเปรียบเทียบขนาดของไส้หญ้าปล้องและอัตราส่วนปริมาณของน้ำเมล็ดแมงลักคาที่มีผลต่อความสามารถใน การขึ้นรูป พบว่า ทุกกลุ่มขึ้นรูปได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อทดสอบค่าการคืนรูปหลังการกด พบว่า แผ่นจาก ไส้หญ้าปล้องขนาดใหญ่ผสมน้ำเมล็ดแมงลักคาอัตราส่วน 1:10 มีค่ามากที่สุด คือ 12.85± 1.08 มิลลิเมตร รองลงมา คือ แผ่นจากไส้หญ้าปล้องขนาดใหญ่ผสมน้ำเมล็ดแมงลักคาอัตราส่วน 1:15 และแผ่นโฟม ตามลำดับ ประสิทธิภาพ ในการเป็นวัสดุกันกระแทก พบว่า แผ่นไส้หญ้าปล้องขนาดใหญ่ผสมน้ำเมล็ดแมงลักคา 1:10 มีประสิทธิภาพดีที่สุด คือ มีการยุบของดินน้ำมัน 1.95±0.38 มิลลิเมตร รองลงมา คือ แผ่นไส้หญ้าปล้องขนาดใหญ่ผสมน้ำเมล็ดแมงลักคา 1:15 และแผ่นโฟม ตามลำดับ

จึงนำแผ่นกันกระแทกที่ดีที่สุดไปทดสอบการป้องกันความเสียหายภายในบรรจุภัณฑ์ สภาพเสมือนจริง ใน 2 รูปแบบ คือ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และแบบบุรอบกล่องพัสดุ ปล่อยกล่องที่บรรจุวัสดุที่สูงระดับต่างๆ พบว่า กรณีเครื่องแก้ว ทั้ง 2 รูปแบบสามารถลดแรงกระแทกได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรณีผลผลิตทางการเกษตร(กล้วยหอมทองและมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง) พบว่า ทั้ง 2 รูปแบบสามารถลดแรงกระแทกได้ โดยมีปริมาตรของรอยช้ำต่ำกว่ากลุ่มควบคุมและแผ่น โฟม แผ่นกันกระแทกจากไส้หญ้าปล้องผสมน้ำเมล็ดแมงลักคาสามารถใช้เป็นวัสดุภัณฑ์ ที่ช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ