ถังขยะอัจฉริยะมีชีวิต

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชนากานต์ ยาสมุทร, ชนิกา สุขเสรี, ปภาวรินทร์ ทองประเทือง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เพียรกิจ นิมิตรดี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนแม่ใจวิทยาคม

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

คณะผู้จัดทำได้ทำการสร้างถังขยะอัจฉริยะมีชีวิตขึ้นมา เพื่อลดการเกิดปัญหาการทิ้งขยะในบริเวณที่ไม่เหมาะสม และลดปริมาณขยะจำพวกพลาสติกในโรงเรียนแม่ใจวิทยาคม ซึ่งคณะผู้จัดทำได้ออกแบบ “ถังขยะอัจฉริยะมีชีวิต”โดยนำถังขยะสำเร็จรูปขนาดความจุ 60 ลิตรติดตั้งระบบเซนเซอร์ที่ตรวจจับการเคลื่อนไหวเมื่อมีคนเดินผ่านบริเวณที่เซนเซอร์ทำงาน ซึ่งจะอยู่ห่างจากถังขยะในรัศมี1เมตร ระบบจะแจ้งเตือนโดยมีเสียง “Hello! ถ้าคุณมีขยะพลาสติกติดตัวอยู่ สามารถนำมาทิ้งที่ถังขยะนี้ได้” ซึ่งเซนเซอร์ที่ตรวจจับการเคลื่อนไหวจะเชื่อมต่อกับบอร์ด kidbright. และระบบเสียงโดยสร้างชุดคำสั่งเมื่อรับสัญญาณจากเซนเซอร์ ที่ตรวจจับการเคลื่อนไหวจะแสดงผลออกทางลำโพงโดยใช้เสียงที่บันทึกไว้ ที่ได้ติดตั้งโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์ โดยสร้างชุดคำสั่งเพื่อส่งออกข้อมูลการนับจำนวนครั้งที่ฝาถังขยะถูกเปิดออก โดยเชื่อมต่อข้อมูลจากบอร์ด kidbright ผ่านช่องสัญญาณส่งออกของบอร์ด เมื่อมีคนนำขยะจำพวกพลาสติกมาทิ้งในถังขยะอัจฉริยะมีชีวิต โปรแกรมจะทำการนับจำนวนขยะพลาสติกจากฝาถังขยะที่ถูกเปิด ซึ่งบอร์ด kidbright เริ่มนับจำนวน 1-50 โดยสร้างชุดคำสั่งให้บวกเลขอนุกรมครั้งละ1เมื่อมีผู้นำขยะมาทิ้งถึงปริมาณที่ถังขยะจะรองรับได้ ระบบจะทำการเตือนไปยังผู้รับผิดชอบมาเก็บขยะจำพวกพลาสติกออกจากถังขยะโดยส่งสัญญาณแบบไร้สาย(สมาร์ทโฟน) หลังจากนั้นนำถังขยะที่ประดิษฐ์ขึ้นไปทดลองใช้ โดยนำถังขยะไปวางไว้ที่จุดต่างๆของโรงเรียน เช่น หน้าอาคารเรียนทุกอาคารและโรงอาหารของโรงเรียน ทุกๆวันจันทร์-ศุกร์ แล้วบันทึกผลจำนวนขยะพลาสติกในถัง โดยจะบันทึกผลในช่วงเวลาเช้า กลางวัน และเย็นของทุกๆวัน ใช้เวลาในการบันทึกผลเป็นระยะเวลา1เดือน เพื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบจำนวนการทิ้งขยะขวดพลาสติกในถังขยะทั่วไปของโรงเรียน ว่าจำนวนขยะพลาสติกในถังขยะอัจฉริยะมีชีวิตกับถังขยะทั่วไปแตกต่างกัน อย่างไร