ไคโตซานผงจากเปลือกกุ้งบำบัดน้ำเสียจากโรงงานปลากระป๋อง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พัชธนษา สิทธิคุณ, กันติชา ขวัญหวาน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สาลามิหย๊ะ กิตติบุญญาทิวากร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เนื่องจากในปัจจุบันการปนเปื้อนของสารต่างๆในน้ําเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นและพบได้มากในสิ่งแวดล้อม ซึ่งสารปนเปื้อนในน้ํามีมากมาย อาทิ ไขมัน โปรตีน ทองแดง และไอออนโลหะอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเจอปน เหล่านี้จะ ทําลายคุณภาพของน้ํา และทําร้ายสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนกําจัดของเสียเหล่านี้มีหลาย วิธีแต่มี ค่าใช้จ่ายสูง จากการศึกษางานวิจัย (พิมพ์ชยา วัจนะรัตน์ และโกวิทย์ ปิยะมังคลา, 2560) พบว่าไคโต ซานซึ่งเป็น สารสกัดจากธรรมชาติ ไม่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต และย่อยสลายได้ตามธรรมชาตินั้นสามารถใช้ดูดซับ ไอออนของโลหะ หนัก ไขมนั โปรตีน และพบว่าเปลือกกุ้งเป็นวัตถุดิบที่สําคัญที่มีสารไคติน และไคโตซาน โดย มีรายงานผลการศึกษา ของเกษราภรณ์ สุอรุณ, (2555)ที่สามารถนําไคโตซานที่เตรียมจากเปลือกปูไปใช้ดูดซับ ไอออนเงนิ ในน้ําเสียได้ ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงมีความสนใจนําเปลือกกุ้งที่มีสารไคโตซานเช่นเดียวกันกับ เปลือกปู ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้ง จากการบริโภคมาทําการสกัดไคโตซานและทดลองดูดซับสารเจือปนในน้ําเสีย เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการบําบัด น้ําเสีย และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่เปลือกกุ้ง