การศึกษาปริมาณกัมมันตภาพรังสีในตัวอย่างผลกล้วย ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อธิชา จันทาพูน, ณัชวรินทร์ ฐานะกอง, ฑิตฐิตา จันทร์มะโน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ทัศยากร คำลือชา, พิพัฒน์ เชื้อเมืองพาน

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การทำโครงงานในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสำรวจปริมาณสารกัมมันตรังสีในกล้วย 3 สายพันธุ์ ได้แก่ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม และกล้วยไข่ในตลาดพื้นที่จังหวัดเชียงรายและประเมินความเป็นอันตรายจากการได้รับกัมมันตรังสีจากกล้วยที่รับประทานโดยเทียบกับค่ารังสีมาตรฐาน ซึ่งมีวิธีการศึกษาดังนี้ 1.) ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างของกล้วยทั้ง 3 สายพันธุ์จากตลาดพื้นที่จังหวัดเชียงรายโดยจะคัดเลือกจากกล้วยที่มีอายุเท่ากัน จากนั้นนำตัวอย่างไปอบให้แห้งเพื่อยืดอายุของกล้วยและนำมาแบ่งใส่ขวดโหลสูญญากาศสายพันธุ์ละ 3 ขวด ขวดละ 50 กรัม 2.)ใช้เครื่องวัดรังสีไกเกอร์มูลเลอร์ตรวจวัดเป็นเวลา 120 นาที และบันทึกค่ารังสีที่ปรากฏขึ้นหน้าปัดทุกๆ 15 นาที ทำการบันทึกผลเป็นกราฟเพื่อดูความเป็นไปของค่ารังสีที่วัดได้ จากนั้นเก็บตัวอย่างกล้วยดังกล่าวไว้เป็นเวลา 30 วัน เพื่อให้เกิดสมดุลกัมมันตรังสีระหว่างธาตุ Ra-226 และ Rn-222 เมื่อครบ 30 วันแล้วนำมาวัดค่ารังสีอีกครั้ง 3.) นำค่ารังสีที่วัดได้ทั้งสองรอบมาหาค่าครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีที่พบในกล้วย รวมไปถึงการนำค่ารังสีที่วัดได้มาคำนวณทางสถิติ ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน