ถ่านจากเปลือกผลไม้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

-พีรณัฐ อ่อนชัยภูมิ อ่อนชัยภูมิ, นันทัชภรณ์ เลิศศิริกุลประภา, บุญฑริกา ปินตา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ธัญกร กิตติจริยา, รัชฎาภรณ์ ปัญญานวล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดถือเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติบางอย่างมีจำนวนน้อยลงไป เช่น ทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งนับวันจะมีจำนวนน้อยลง และราคาแพง ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาถ่าน พลังงานหุงต้มสำคัญของชาวบ้าน เนื่องจากวัสดุที่นำมาใช้ในการเผาถ่านคือไม้มีราคาแพง ดังนั้นผู้จัดทำโครงงานจึงสนใจวัสดุที่จะนำมาใช้แทนไม้ในการเผาถ่าน และคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจากการสังเกตในตลาด พบว่ามีเปลือกผลไม้จำนวนมาก เช่น ทุเรียน มังคุด สับปะรด ที่พ่อค้าแม่ค้านำมาทิ้ง จึงเกิดแนวคิดการนำเปลือกผลไม้มาใช้ในการเผาถ่านจึงเลือกที่จะทำโครงงาน “ถ่านจากผลไม้” ซึ่งโครงงานนี้จะศึกษาวิธีการเผาถ่านจากเปลือกผลไม้ไม่ให้ถ่านแตก และประสิทธิภาพของถ่านจากเปลือกผลไม้เปรียบเทียบกับถ่านไม้ ซึ่งการทำโครงงานนำเปลือกผลไม้ที่จะนำไปทิ้งมาทำเป็นถ่านจากเปลือกผลไม้ ซึ่งจะเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถต่อยอดสร้างรายได้ได้อีกด้วย