ผลของการใช้วัสดุธรรมชาติเพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของข้าวพันธุ์หอมมะลิ กข15 ในดินเค็ม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อารียา เนาว์ประโคน, ศิริวรรณา วันดี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ธิติ เพียรโคตร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการทำการเกษตรปลูกข้าวทั่วทุกภาคในประเทศ ซึ่งหลายพื้นที่พบปัญหาที่มีผลกระทบต่อการทำการเกษตรปลูกข้าว เช่น ปัญหาดินเค็มที่พบมากในภาคตะวันออกเฉียง- เหนือ ทำให้ผลผลิตที่ได้จากการปลูกข้าวลดลง จังหวัดบุรีรัมย์ก็เป็นหนึ่งในจังหวัดที่ประสบปัญหา ซึ่งหลายพื้นที่ในจังหวัดพบปัญหาเกี่ยวกับดินเค็มโดยเฉพาะตอนเหนือของจังหวัด และปัญหาดินเค็มที่พบส่วนใหญ่เป็นดินเค็มน้อย และดินเค็มปานกลาง ซึ่งยังสามรถทำการเกษตรปลูกข้าวได้ แต่จะมีผลผลิตที่ต่ำ เนื่องจากความเค็มส่งผลกระทบต่อการเจริญของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ เพราะความเค็มทำให้สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติมโตของพืชคือ ทำให้ดินแน่นขึ้นรากชอนไชได้ยาก แร่ธาตุบางอย่างละลายออกมาจนเป็นพิษ พืชจึงพยายามลดการดูดธาตุเหล่านั้นทำให้ลดการดูดน้ำลงด้วย พืชจึงเกิดอาการขาดน้ำ จากสาเหตุนี้เราจึงเห็นว่าหากนำวัตถุเติมดินที่มีคุณสมบัติช่วยในการทำให้ดินร่วนขึ้น ช่วยป้องกันไม่ให้ความเค็มขึ้นมาด้านบนเนื่องจากดินเค็มเกิดจากความเค็มที่มาจากดินด้านล้าง และมีธาตุอาหารที่เหมาะสม จะช่วยให้รากข้าวซอนไชได้สะดวกขึ้น และได้รับน้ำมากขึ้น จะสงผลต่อลักษณะของรากข้าวที่ดีขึ้น และต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี เนื่องจากรากเป็นส่วนประกอบของต้นพืชที่สำคัญที่สุดในการช่วยให้พืชเจริญเติมโตได้ดี หากรากสามารถดูดสารอาหารได้มากขึ้น ได้รับน้ำมากขึ้น ก็จะทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งวัตถุเติมดินที่เลือกมาใช้คือ มูลวัว เนื่องจากการใส่มูลวัวจะช่วยให้ดินเป็นดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชมากขึ้น ทำให้ดินมีระบายน้ำได้ดีอากาศถ่ายเทได้สะดวก หินภูเขาไฟ เนื่องจากหินภูเขาไฟหรือกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟจะมีพื้นที่ผิวสัมผัสที่มีความพรุนและโปร่ง คล้ายกับโครงสร้างของฟองน้ำ ทำให้มีความสามารถในการกรอง ดักและจับตรึงแร่ธาตุ ก๊าซต่างๆ ได้ค่อนข้างดี และช่วยให้ดินโปงขึ้นได้ และแกลบดิบ เนื่องจากแกลบดิบเป็นวัสดุที่ใช้เวลาในการย่อยสลายนานจึงอยู่ในดินได้นาน และมีขนาดใหญ่จะช่วยป้องกันไม่ให้ความเค็มจากด้านล้างขึ้นมาด้านบนได้ และปรับปรุงดินเพื่อช่วยเพิ่มความร่วนซุย เพิ่มแร่ธาตุ ดินอุ้มน้ำได้ดี ซึ่งวัสดุเหล่านี้เป็นวัสดุที่ใช้ในการทำการเกษตรโดยทั่วไปอยู่แล้ว เป็นวัสดุที่หาง่ายและราคาถูก
ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะศึกษาผลของการเติมวัตถุเติมดินได้แก่ มูลวัว หินภูเขาไฟ และแกลบดำ ต่อลักษณะของรากข้าวพันธ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในสภาวะดินเค็ม