การศึกษาประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดผสมไบโอชาร์สำหรับเสริมการเจริญเติบโตของต้นถั่วเหลืองพันธุ์นครสวรรค์ 1

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ภัทรลดา บุญประเสริฐ, อภิสรา พงศ์วิทยเวคิน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

นิติ ไชยวงคต

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

ไบโอชาร์เป็นผลึกคาร์บอนมีลักษณะรูพรุนมีพื้นที่ผิวจําเพาะสูง เมื่อเปรียบเทียบกับอนุภาคดินเหนียว (>1,500 ตารางเมตรต่อกรัม) ซึ่งลักษณะดังกล่าวทําให้ไบโอชาร์ มีความสามารถในการดูดซับโมเลกุลทั้งที่เป็นประจุบวกและประจุลบ ช่วยเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ําของดินและความสามารถในการระบายน้ําของดินเป็นผลให้ ปริมาณสารอาหารที่พืชสามารถเอาไปใช้ได้เพิ่มขึ้นจากทั้งสารอาหารที่มีในไบโอชาร์ที่ปลดปล่อยอย่างช้าๆและ สารอาหารที่ถูกกักเก็บไว้เนื่องจากคุณสมบัติของไบโอชาร์ (ทัพไท,2557)

ด้วยคุณสมบัติของไบโอชาร์ทำให้ผู้จัดทำมีความสนใจที่จะนำไบโอชาร์ มาผลิตเป็นปุ๋ยบำรุงต้นพืช โดยมีพืชที่เลือกใช้คือถั่วเหลือง ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย สามารถนำมาบริโภคได้ทั้งเมล็ด หรือนำมาสกัดน้ำมันเพื่อใช้ในการประกอบอาหาร โดยโครงงานนี้จะศึกษาถึงการเจริญเติบโตของต้นถั่วเหลือง ตลอดจนผลผลิตหรือเมล็ดถั่วเหลืองที่ใช้ปุ๋ยไบโอชาร์ในการบำรุง เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบถึงคุณสมบัติของปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไบโอชาร์และปุ๋ยที่ไม่มีส่วนประกอบของไบโอชาร์ต่อการเจริญเติบโตของต้นถั่วเหลือง

เริ่มจากทดลองปลูกต้นถั่วเหลืองจำนวน 2 ชุดการทดลอง ชุดละ 5 กระถาง เปรียบเทียบระหว่างปุ๋ยชีวภาพสูตร 3 จากกรมพัฒนาที่ดิน แบบอัดเม็ด 100 เปอร์เซ็นต์ กับการใช้ไบโอชาร์อัดเม็ดร่วมกับปุ๋ยชีวภาพสูตรเดียวกันด้วยอัตราส่วน 50:50 ระยะเวลาประมาณ 75 วันหรือจนกว่าจะออกฝักเป็นเมล็ดถั่วเหลืองเต็มวัย ซึ่งผู้จัดทำมุ่งเน้นที่จะการผลิตปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไบโอชาร์และวิเคราะห์เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นถั่วเหลืองที่ปลูกด้วยปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไบโอชาร์ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกรในการบำรุงต้นพืชโดยใช้วัสดุทางธรรมชาติที่ไม่เป็นอันตรายต่อต้นพืชและดินในระยะยาว ผู้จัดทำคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงงานนี้จะสามารถช่วยในการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรได้ในอนาคต