การศึกษาและทดสอบสารที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันฟันผุอย่างปลอดภัยในเมล็ดโก้โก้จากธรรมชาติ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ปพิชญา ศรีระษา, นภัสวรรณ บัวผัน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วัชราภรณ์ แสนนา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดสารธีโอโบรมีนจากเมล็ดโก้โก้ สำหรับเตรียมเป็นสารละลายที่จะใช้ทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุ โดยนำเมล็ดโกโก้มากระเทาะเปลือกออก และนำส่วนของเปลือกเมล็ดโกโก้มาสกัดด้วยตัวทำละลาย 3 ชนิด ได้แก่ น้ำกลั่น เอทานอล และคลอโรฟอร์ม อย่างละ 270 มิลลิลิตร โดยใช้อ่างควบคุมอุณหภูมิ จะได้ว่าการสกัดสารธีโอโบรมีนจากเปลือกเมล็ดโกโก้โดยใช้ตัวทำละลายเอทานอล 70% เหมาะสมที่สุด พบว่าสารธีโอโบรมีนที่สกัดได้มีสิ่งแปลกปลอม (โปรตีน ลิพิด เพคติน แทนนิน เม็ดสี ฯลฯ) และปริมาตรของสารละลายตะกั่วอะซิเตท 10% คือการเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการสกัดหยาบที่มีธีโอโบรมีนจากเปลือกเมล็ดโกโก้ให้บริสุทธิ์ และเมื่อนำมาผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอม พบว่าปริมาณธีโอโบรมีนที่ได้จากเปลือกเมล็ดโก้โก้เท่ากับ 6.79 มิลลิกรัม / 100 กรัมของน้ำหนักแห้ง และสารที่ได้จากการผ่านกระบวนการต่าง ๆ จนเสร็จสิ้นแล้ว จะนำไปทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุกับฟันตัวอย่าง เพื่อเปรียบเทียบระหว่างสารธีโอโบรมีนกับฟลูออไรด์ ว่าสารใดมีประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุและปลอดภัยมากที่สุด พบว่าการเลือกใช้ธีโอโบรมีนมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการเลือกใช้ฟลูออไรด์ เนื่องจากในกลุ่มฟันตัวอย่างที่ถูกบ่มในธีโอโบรมีน มีผิวเคลือบฟันที่หนาขึ้น จะทำให้มีการป้องกันได้ดีกว่า และฟลูออไรด์ในปริมาณมากเกินอาจส่งผลให้ฟันฟลูออโรซิสได้

คำสำคัญ : เปลือกเมล็ดโกโก้, ธีโอโบรมีน, การสกัด, การทำให้บริสุทธิ์