การสกัดไฟโคไซยานินจากตะไคร่เส้นผมเขียวเพื่อใช้ทดสอบแอมโมเนียในน้ำ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ศุภกร สุขสลัก, ภูริญา พาหุบุตร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ปภาดา บุญสิน, กุสุมา เชาวลิต

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ตะไคร่น้ำเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณที่มีความชื้นหรือแหล่งน้ำ โดยยึดเกาะกับริมขอบตลิ่ง กำแพง หรือลอยอยู่ในแหล่งน้ำ โดยส่วนใหญ่หลายคนมักมองว่าเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์เนื่องสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิต เช่น ส่งผลต่อระบบกรองหากไปอุดตันบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำซึ่งส่งผลต่อสัตว์น้ำ จึงนิยมกำจัดตะไคร่น้ำทิ้งไป อย่างไรก็ตามจึงควรหาวิธีการนำตะไคร่น้ำมาใช้เพื่อให้ก่อประโยชน์ ซึ่งยังมีไม่มากนักแต่ก็ยังดีเสียกว่าการกำจัดทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ จากปัญหาดังกล่าวทางผู้จัดทำจึงสนใจที่จะศึกษาและค้นคว้าเพื่อหาแนวทางในการใช้งานตะไคร่น้ำเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยในการศึกษาตะไคร่น้ำเส้นผมเขียวหรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Spirogyra sp. พบว่า มีสารประกอบประเภทโปรตีนที่มีรงควัตถุเกาะอยู่บนโมเลกุล พบได้ทั่วไปในสาหร่ายในคลาส Cyanophyceae โดยสามารถสกัดสารไฟโคไซยานิน (Phycocyanin) ออกมาได้ซึ่งเป็นสารที่มีสีฟ้า เรืองแสงได้ ละลายได้ดีในน้ำ อยู่ในกลุ่มไฟโคบิลิโปรตีน (Phycobiliprotein) ซึ่งเป็นสารรงควัตถุชนิดหนึ่ง จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางผู้จัดทำจึงมีแนวคิดในการนำตะไคร่น้ำ Spirogyra sp. มาสกัดสารไฟโคไซยานินเพื่อพัฒนาเป็นชุดทดสอบแอมโมเนียในน้ำเพื่อใช้ทดสอบค่าแอมโมเนียในน้ำ เพราะเมื่อความเข้มข้นของแอมโมเนียในแหล่งน้ำสูงขึ้นจะสิ่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในแหล่งน้ำเป็นอย่างมาก อีกทั้งการพัฒนาชุดทดสอบแอมโมเนียค่าในน้ำจากตะไคร่น้ำที่ทางผู้จัดทำคิดขึ้นมานั้นนอกเสียจากเป็นการใช้ตะไคร่น้ำให้เกิดประโยชน์แล้ว ยังมีราคาที่ถูกกว่าชุดทดสอบค่าแอมโมเนียโดยใช้สารเคมีที่มีอยู่ตามท้องตลาด ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการที่มีความจำเป็นต้องทดสอบค่าแอมโมเนียเป็นประจำ เช่น การทำนากุ้ง เป็นต้น