การศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นฟิล์มปลูกพืชจากคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสในซังข้าวโพดเพื่อลดการใช้น้ำทางการเกษตร
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วิศัลยา ชุติมาโชติ, กุลนัดดา สุทธิสวัสดิ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พิพัฒน์พงษ์ สาจันทร์, ชนันทร์พรรษ โคตรวงศ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันเนื่องจากเกษตรกรบางรายต้องการที่จะทําการเกษตร เช่น ปลูกพืชผักไม่ว่าจะเพื่อนําไปจําหน่าย หรือปลูกไว้รับประทานเอง แบบประหยัดการใช้น้ําหรือใช้เพียงน้ําในการปลูกจึงหาวิธีที่จะกักเก็บน้ําไว้ให้พืชใช้ได้มากที่สุด แต่มักพบปัญหาไม่รู้วิธีการ ไม่มีที่ดินที่เหมาะสมในการเพาะปลูก และปัญหาการขาดแคลนน้ํา คนส่วนใหญ่ของประเทศมีรายได้จากภาคเกษตรกรรม เช่น ทําสวน ทํานา ทําไร่ เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น แต่การใช้น้ําของคนกลุ่มนี้กลับไม่เพียงพอต่อความต้องการในทุกปีเนื่องจากจํานวนประชากร ความต้องการในการบริโภค และความต้องการในการทําเกษตรที่เพิ่มมากขึ้น ทําให้บางพื้นที่มีน้ําไม่เพียงพอต่อการทําการเกษตร โครงงานนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาแผ่นฟิล์มที่มีความสารถในการกักเก็บน้ำและดูดซึมสารอาหารของพืชเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต โดยใช้คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสที่ได้จากธรรมชาติ คือซังข้าวโพด ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร การกำจัดซังข้าวโพดสร้างปัญหามลพิษทางอากาศเนื่องจากส่วนใหญ่ใช้วิธีการเผา เพื่อเป็นการกำจัดให้มีประโยชน์สูงสุดเหตุนี้จึงนำซังข้าวโพดมาสกัดให้ได้คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสเข้ามาเป็นส่วนผสมร่วมกับกลีเซอรอล โดยทำแผ่นฟิล์มทั้งหมด 5 สูตร กำหนดส่วนผสม คือคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสและกลีเซอรอลในอัตราส่วน 1:1,1:2,2:1,1:3 และ 3:1 ทำการศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติการกักเก็บน้ำ การซึมผ่านของน้ำและสารอาหาร เพื่อนำแผ่นฟิล์มไปใช้ในการปลูกพืชที่สามารถลดการใช้น้ำทางการเกษตร