การประยุกต์ใช้การหาปริมาตร เพื่อสร้างเครื่องแยกเหรียญ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนบดี ศรีสุวภัค, ณัฐนารินทร์ เปี้ยสาย, ลินลกาญจน์ ชาติสืบ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
บรรเจิด สระปัญญา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การจัดทำโครงงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้การหาปริมาตร เพื่อสร้างเครื่องแยกเหรียญ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างเครื่องแยกเหรียญ เพื่ออำนวยความสะดวกในการคัดแยกจำนวนเหรียญและการรวมจำนวนเงิน โดยใช้ต้นทุนต่ำ โดยมีขอบเขตการใช้ คือ การอำนวยความสะดวกในฝากออมเงินของนักเรียนในโรงเรียนลำปางกัลยาณี และอำนวยความสะดวกในการซื้อขายแก่ร้านค้าในท้องถิ่นชุมชน ทีมผู้พัฒนาได้ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การประยุกต์ใช้การหาปริมาตรเหรียญกษาปณ์ไทย แผงวงจรควบคุมอัตโนมัติ.ระบบ DOE และแนวคิดเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้การออกแบบการทดลอง (Design of Experiment :DOE) จากการออกแบบและวางแผนรูปแบบการทดลองโดยอาศัยการพิจารณาตัวแปรที่เป็นไปได้รอบด้านของการสร้างเครื่องแยกเหรียญ แบ่งเป็น 4 รูปแบบ ผลการศึกษาเป็นดังนี้ รูปแบบที่ 1 ของวิธีการออกแบบการทดลองแบบ DOE พบว่า ที่ความชันของราง 15 องศา มีร้อยละของความสำเร็จในการแยกเหรียญ สูงที่สุดเท่ากับ ร้อยละ 60 รูปแบบที่ 2 ของวิธีการออกแบบการทดลองแบบ DOE พบว่า ความสามารถในการตรวจนับของเซ็นเซอร์ มีร้อยละของความสามารถในการตรวจนับของเหรียญทั้ง 6 ประเภท จำนวน 5 ครั้ง พบว่า เหรียญ 10 บาท สูงที่สุดเท่ากับร้อยละ 100 รองลงมา คือ เหรียญ 5 บาท เท่ากับร้อยละ 92.86 รองลงมา คือ เหรียญ 1 บาท เท่ากับร้อยละ 78.57 รูปแบบที่ 3 ของวิธีการออกแบบการทดลองแบบ DOE พบว่า กรณีเหรียญ 3 ประเภทหรือเหรียญ 2 ประเภท หรือแบบจับคู่ จะมีค่าความแม่นยำลดลง เท่ากับร้อยละ 40-80 ตั้งแต่เหรียญแต่ละประเภท มีจำนวน 12 – 14 เหรียญขึ้นไป และรูปแบบที่ 4 ของวิธีการออกแบบการทดลองแบบ DOE พบว่า น้ำหนักที่เท่ากัน ไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความแม่นยำ และค่าเฉลี่ยการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้เครื่องแยกเหรียญ เท่ากับ 4.71 ซึ่งการแปลผลอยู่ในระดับดีมาก
คำสำคัญการประยุกต์ใช้การหาปริมาตร , เครื่องแยกเหรียญ