การพัฒนากระบวนการผลิตเอทานอลจากน้ำหมักของน้ำทิ้งขนมจีน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ศุทธินี บานมีทะ, ณัฐชญาภรณ์ ประการแก้ว, จิราภา นะคะจัด
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ภาวิณี สุพลแสง, ชาลี สุพลแสง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
น้ำหมักขนมจีนเป็นน้ำทิ้งจากกระบวนการทำขนมจีนทำให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมส่งกลิ่นเหม็น
ในท่อระบายน้ำเนื่องจากมีอินทรีย์วัตถุโดยเฉพาะแป้งอยู่ในปริมาณมาก ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ปัจจุบันการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ (gasohol) มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น (มิตรผล,2551) จึงมีแนวทางในการแก้ปัญหาด้านวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล คือ การใช้วัตถุดิบชนิดอื่นและควรเลือกวัตถุดิบที่มีเพียงพอตลอดปี ราคาถูก (ธีรภัทร ,2549) ที่ใช้ในการผลิต เตรียมวัตถุดิบเริ่มต้นก่อนการหมัก กลุ่มพวกเราจึงเกิดแนวคิดที่จะผลิตพลังงานทดแทนจากน้ำหมักน้ำทิ้งขนมจีนซึ่งเมื่อนำมาเคี้ยวที่อุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมจะทำให้มีแป้งและน้ำตาลเพิ่มขึ้น เริ่มต้นกระบวนการผลิตเอทานอลได้ ช่วยลดมลพิษทางอากาศทำให้แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1)เพื่อผลิตเอทานอลจากน้ำหมักขนมจีนที่สภาวะน้ำตาลปกติและเพิ่มน้ำตาล 2 ศึกษาผลของการกล้าเชื้อยีสต์ต่อการผลิตเอทานอลจากน้ำหมักขนมจีน 3 เพื่อคำนวณต้นทุนโดยประมาณในการผลิตเอทานอลจากน้ำหมักขนมจีนเปรียบเทียบกับการผลิตเอทานอลจากวัตถุดิบชนิดอื่นที่ใช้ในการผลิต ผลปรากฏว่า 1. การผลิตเอทานอลจากน้ำทิ้งขนมจีนที่สภาวะไม่เติมน้ำตาลและเพิ่มน้ำตาล สรุปว่าการเพิ่มน้ำตาล 240g/l จะทำให้มีปริมาณเอทานอลเพิ่มขึ้นมากกว่าไม่เติมน้ำตาลถึง 92.56% และสูงกว่าการเพิ่มน้ำตาล 280g/l มีเอทานอลเพิ่มขึ้นเป็น 91.14%
การเติมเชื้อยีสต์และหมักน้ำทิ้งขนมจีนจะส่งผลต่อความเข้มข้นของเอทานอลที่เพิ่มขึ้น จากชุดเดิมที่น้ำตาล240g/l มีเอทานอลเข้มข้นเพิ่มขึ้น 13.27% ส่วนที่เพิ่มน้ำตาล 280g/l มีเอทานอลเพิ่มขึ้นอีก 4.21%
ต้นทุนคิดเฉพาะในส่วนของวัตถุดิบเท่ากับ 4.80 บาท ต่อน้ำหมักขนมจีน 1 ลิตร