การดูดซับเหล็กในนํ้าบาดาลสังเคราะห์ด้วยถ่านไม้ในท้องถิ่น

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วิชญาดา แซ่ปึง, จิดาภา จันทร์เตี้ย, กรรวี กรธนวาณิช

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เยาวรัตน์ วงศ์โพนสูง, พิมลพรรณ นินทะสิงห์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคม

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในชุมชนอำเภอปทุมรัตต์มีการใช้น้ำบาดาลเพื่ออุปโภคเเละบริโภคกันมากเพราะระบบน้ำประปาไม่เพียงพอใช้ในชุมชน ซึ่งน้ำบาดาลที่ใช้อุปโภค บริโภคในครัวเรือนบางแหล่งยังขาดระบบการปรับปรุงคุณภาพของน้ำทำให้น้ำมีสิ่งปนเปื้อนออกมากับน้ำ ซึ่งเหล็กก็เป็นสารปนเปื้อนอีกหนึ่งปัญหาของการใช้น้ำบาดาลในชุมชน น้ำบาดาลในชุมชนจะมีกลิ่นสนิมเหล็กหรือกลิ่นคาว น้ำมีสีแดงขุ่น เมื่อนำมาใช้ในการซักล้างจะทำให้เสื้อผ้าปนเปื้อนเกิดคราบสกปรกบนเสื้อผ้า เกิดคราบสนิมเหล็กขึ้นกับเครื่องสุขภัณฑ์เเละเกิดการอุดตันในระบบท่อจ่ายน้ำ ซึ่งการวิเคราะห์คุณภาพน้ำถือว่าเป็นสิ่งสำคัญซึ่งชี้ให้เห็นว่าเเหล่งน้ำนั้นเหมาะสมสำหรับการอุปโภค บริโภค ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์คุณภาพน้ำผิวดินเเละน้ำใต้ดินเรามักจะพบปัญหาหลายๆอย่างเช่นน้ำไม่สะอาดวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้กับระบบน้ำนั้นเกิดคราบขึ้นเเต่ในความเป็นจริงเเล้วน้ำบาดาลที่สะอาดเเต่เนื่องขณะที่น้ำไหลผ่านไปตามชั้นดิน หิน อาจจะละลายเอาเเร่ธาตุต่างๆปนมาด้วย  คุณภาพน้ำบาดาลมาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่เหมาะสมไม่เกินกว่า 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร

ซึ่งด้วยสาเหตุนี้จึงก่อให้เกิดที่มาเเละความสำคัญในการคิดหาวิธีในการเเก้ไขปัญหาโดยศึกษาหาตัวดูดซับเหล็กจากวัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น คือ ถ่านไม้ยูคาลิปตัสเเละถ่านไม้ไผ่ป่าโดยถ่านกัมมันต์ที่มีคุณสมบัติในการดูดซับเหล็กในนํ้าบาดาล โดยมีวิธีการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับ ได้เเก่ การศึกษาค่าพีเอซ เวลาที่เหมาะสมในการดูดซับ ปริมาณที่เหมาะสมของถ่านกัมมันต์ในการดูดซับสารละลายเหล็กโดยนำนํ้าตัวอย่างที่ผ่านการดูดซับมาวิเคราะห์ด้วยวิธีสเปคโทรโฟโตมิเตอร์ทำให้ทราบถึงความสามารถในการดูดซับสารละลายเหล็กในนํ้า ซึ่งถ่านไม้ยูคาลิปตัส เเละถ่านไม้ไผ่ป่า นี้มีคุณสมบัติในการช่วยดูดซับเหล็กเเละยังช่วยลดคราบที่เกิดจากวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบนํ้า ลดกลิ่นของสนิมเหล็ก ทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของไม้ในท้องถิ่นได้ด้วย