การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตแผ่นปูทางเท้าเพื่อรับแรงกระแทกจากซังข้าวโพด ฟางข้าว และ ชานอ้อยผสมยางสังเคราะห์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐสิรี ฟองจางวาง, นภัฏสร พรมเทศ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วีระพล พงศ์ดา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เนื่องจากในปัจจุบันมีผู้คนสนใจในเรื่องการดูแลสุขภาพมากขึ้น วิธีการดูแลสุขภาพส่วนใหญ่มาจากการ
ออกกำลังกาย สิ่งที่นิยมมาที่สุดคือการวิ่ง เพราะการวิ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใช้เกี่ยวกับอุปกรณ์กีฬามากเท่ากีฬา
ชนิดอื่น ถึงแม้การวิ่งจะช่วยให้มีสุขภาพที่ดีแต่ก็มีผู้คนส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการวิ่งเช่นกัน นั่นคือการ
ได้รับบาดเจ็บที่บริเวณหัวเข่า
แผ่นปูทางเท้าที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ได้อ านวยความสะดวกในเรื่องของการรับแรงกระแทกเท่าที่ควร
ประกอบกับในประเทศไทยมีผู้คนที่ท าการเกษตรเป็นจ านวนมาก หลังการเก็บเกี่ยวของการท าการเกษตรจะมี
ขยะที่มาจากผลผลิตทางการเกษตร ผู้จัดทำจึงสนใจที่จะนำวัสดุที่เหลือใช้จากการทำการเกษตรมาใช้ให้เกิด
ประโยชน์เพื่อเป็นการลดจำนวนขยะและลดการเผาทำลายที่นำไปสู่การเกิดภาวะโลกร้อน มาประยุกต์ใช้ให้เข้า
กับยางสังเคราะห์โพลิยูรีเทนมาทำเป็นแผ่นปูทางเท้าเพื่อลดแรงกระแทกที่พื้นกระทำต่อหัวเข่า สำหรับผู้ที่เดิน
ผ่านและผู้ที่มาออกกำลังกาย
ดังนั้น ผู้จัดทำคิดว่ายางสังเคราะห์โพลิยูรีเทนจะช่วยทำให้แผ่นปูทางเดินมีความยืหยุ่นมากพอที่จะทำ
ให้ลดแรงที่พื้นมากระทำต่อหัวเข่าได้ จึงสนใจศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตแผ่นปูทางเท้าเพื่อรับแรง
กระแทกจากซังข้าวโพด ฟางข้าว ชานอ้อยผสมยางสังเคราะห์เพื่อลดแรงกระแทกที่มาจากการวิ่ง