การใช้คลื่นเสียงอัลตราโซนิคกำจัดลูกน้ำยุง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ลียาน่า อัลมุมีนีน, วาริ​ษ ปุ​ติ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

อารีเฟ็น รัศมีศาสน์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ยุงเป็นพาหะนำโรค คร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมาก การใช้สารเคมีเพื่อกำจัดยุงด้วยการพ่นละอองฝอยหรือหมอกควัน ก่อให้เกิดมลภาวะ สารเคมีตกค้าง อันตรายต่อผู้คนและสัตว์เลี้ยง และเป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว งานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษา การใช้คลื่นเสียงอัลตราโซนิคในการกำจัดลูกน้ำยุง และสร้างอุปกรณ์ปล่อยคลื่นเสียงอัลตราโซนิคต้นแบบ สำหรับการกำจัดลูกน้ำยุง เนื่องจากคลื่นเสียงอัลตราโซนิคเป็นคลื่นเสียงที่มีความปลอดภัยต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง เป็นเทคนิคที่ไม่ก่อให้เกิดสารตกค้าง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากลูกน้ำยุงเป็นระยะวงจรชีวิตยุงที่มีลักษณะสัณฐานวิทยาที่ยังอ่อนแอ และยังอ่อนไหวต่อแรงดันน้ำ เมื่อปล่อยคลื่นเสียงอัลตราโซนิคลงไปในน้ำด้วยความถี่เสียงและกำลังของคลื่นที่เหมาะสม ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเชิงกลจากความกดอัดของเหลว (cavitation) ส่งผลให้เกิดแรงดันจากคลื่นไปกระแทกลูกน้ำยุงทำให้ลูกน้ำถูกทำลาย ซึ่งจะเป็นการไปตัดวงจรชีวิตของยุงไม่ให้เข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย