การศึกษาความเป็นพิษในหลอดทดลองของสารสกัดหยาบจาก Curcuma alismatifolia Gagnep ด้วยเอทานอลต่อเซลล์มะเร็งเต้านม MDA-MB-231
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ภรณ์ชนก เข่งค้า, สุวพงศ์ภัค สันติวรานุรักษ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กิดาการ ศิริ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ยุคอดีตถึงปัจจุบันมีการใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาเพื่อประกอบการรักษาโรคต่างๆ เนื่องจากหาได้ง่าย ราคาถูก และมีความเป็นพิษต่ำ อีกประการหนึ่งคือการใช้ยาแผนปัจจุบันเป็นจำนวนมาก ทำให้เสียค่าใช้จ่ายจากการนำเข้ายาจากต่างประเทศ รวมถึงทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่อตัวผู้ป่วย โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของประชากรทั่วโลก โดยที่มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งเป็นอันดับหนึ่งของเพศหญิง มีรายงานทางวิทยาศาสตร์ถึงฤทธิ์ต้านมะเร็งจากเหง้าหรือ Rhizome ของพืชที่อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae งานวิจัยนี้จึงนำปทุมมาสายพันธุ์บ้านไร่สวีท (Curcuma alismatifolia Gagnep.) ซึ่งเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae นิยมนำส่วนของดอกมาใช้เป็นไม้ประดับ โดยเหลือส่วนที่เป็นเหง้าไว้ มาศึกษาฤทธิ์ต้านมะเร็งต่อเซลล์มะเร็ง เต้านมชนิดเพาะเลี้ยง MCF-7 และ MDA-MB-231 เปรียบเทียบกับเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนนิวเคลียสของคนปกติ (PBMC) โดยวิธี MTT assay ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารสกัดหยาบด้วยเอทานอลจากปทุมมาสายพันธุ์บ้านไร่สวีท (EBRS) ไม่เป็นพิษกับเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนนิวเคลียสของคนปกติ (PBMC) และ MCF-7 โดยค่าความมีชีวิตของเซลล์มากกว่า 80% ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มควบคุม ในขณะที่ EBRS ที่ความเข้มข้น 12.5-50 µg/ml มีผลทำให้การมีชีวิตของเซลล์มะเร็งเต้านมชนิดเพาะเลี้ยง MDA-MB-231 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ดังนั้นจึงน่าสนใจที่จะนำสารสกัดด้วยเอทานอล จากปทุมมาสายพันธุ์บ้านไร่สวีทไปศึกษาในเชิงลึกถึงผลต่อการเหนี่ยวนำการตายในเซลล์มะเร็ง เต้านมชนิดเพาะเลี้ยง MDA-MB-231 ต่อไป