การศึกษาความเป็นพิษจากสารสกัดหยาบจากดอกปทุมมา สายพันธุ์ชมพูมะลิสกัดด้วยเฮกเซนที่มีฤทธิ์ต้านเซลล์เต้านมชนิดเพาะเลี้ยง MCF-7 และ MDA-MB-231 เปรียบเทียบกับเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดโมโนนิวเคลียส (PBMC) ================================================================================================================================================================================================================================
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ทิพย์นำพา โสขุมา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กิดาการ ศิริ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในประเทศไทยพบอุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมสูงเป็นอันดับหนึ่งในเพศหญิง และ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกๆปี การรักษา ได้แก่ การผ่าตัด การฉายรังสี การทำเคมีบำบัด ฯลฯ ล้วนแต่ มีข้อจำกัดและผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถทำการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง งานวิจัยก่อนหน้า พบฤทธิ์ต้านมะเร็งของสารสกัดจากเหง้าของพืชในวงศ์ Zingiberaceae เช่น ขิง ข่า และไพล ภาคนิพนธ์นี้จึงสนใจปทุมมา (Curcuma alismatifolia Gagnep.) ซึ่งเป็นพืช ในวงศ์ Zingiberaceae ส่วนของดอกนิยมนำไปเป็นไม้ประดับ เหลือส่วนของเหง้าไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ใดๆ วิธีการศึกษาจึงมุ่งเน้นทดสอบความเป็นพิษในหลอดทดลองของสารสกัดหยาบด้วยเฮกเซนจากปทุมมาสายพันธุ์ชมพูมะลิ (HCPM) ต่อเซลล์มะเร็งเต้านมชนิดเพาะเลี้ยง MCF-7 และ MDA-MB-231 เปรียบเทียบกับเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนนิวเคลียส (PBMC) โดยตรวจวัดความมีชีวิตของเซลล์จากการทำงานของเอนไซม์ Mitochondrial reductase ด้วยวิธี MTT assay ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากปทุมมาสายพันธุ์ชมพูมะลิ (HCPM) ที่ความเข้มข้น 1.56–50.0 µg/ml ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนนิวเคลียส (% of control cell viability >80%) และในช่วงความเข้มข้นเดียวกันนี้ พบว่ามีความเป็นพิษ ต่อเซลล์มะเร็งเต้านมชนิดเพาะเลี้ยง MCF-7 และ MDA-MB-231 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก กลุ่มควบคุม ดังนั้นสารสกัดหยาบด้วยเฮกเซนจากปทุมมาสายพันธุ์ชมพูมะลิ (HCPM) จึงมีความน่าสนใจที่จะนำไปสกัดแยกเพื่อให้ได้สารออกฤทธิ์ที่บริสุทธิ์ เพื่อศึกษาถึงฤทธิ์ต้านมะเร็งในเชิงลึกต่อไป