การใช้เซลลูโลสจากแบคทีเรีย Acetobacter xylinum เพื่อพัฒนาเป็นวัสดุเชิงประกอบชีวภาพในการบำบัดน้ำเสีย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
โสรยา กนกเวชยันต์, ภิญญาดา เพียรทอง, ณัฐภัทร ดำเอี่ยมดี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พิชญา สัตยาทร, ไพฑูรย์ กุมภาพันธ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิจัย เรื่อง การใช้เซลลูโลสจากแบคทีเรีย Acetobacter xylinum เพื่อพัฒนาเป็นวัสดุเชิงประกอบชีวภาพในการบำบัดน้ำเสีย มีจุดประสงค์เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์วัสดุเชิงประกอบทางชีวภาพจากเซลลูโลสที่สกัดจากแบคทีเรีย Acetobacter xylinum ผสมผสานร่วมกับไคโตซาน นำมาปรับฟื้นฟูสภาพน้ำเสียของแหล่งน้ำภายในชุมชน โดยเป้าหมายหลักคือการกำจัดกลุ่มโลหะหนัก (heavy metals) ณ ที่นี้จะใช้วัสดุเชิงประกอบในการกำจัดไอออนทองแดง (Cu2+) ในน้ำ โดยการสกัดเส้นใยเซลลูโลสจากแบคทีเรีย Acetobacter xylinum นำมาขึ้นรูปเป็นวัสดุเชิงประกอบทางชีวภาพ โดยนำมาผสมกับไคโตซานและทำการวิเคราะห์ทดสอบลักษณะเฉพาะของวัสดุเชิงประกอบทางชีวภาพที่ได้