การเปลี่ยนโครงสร้างของ Cephalosporins : เพื่อเสริมฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สรัลรัตน์ อ่อนจิตร, นพวรรณ จิตต์สมุทร, ภัคจิรา โอษฐ์แก้ว
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ภานุมาศ ทองอยู่
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
Cephalosporins เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่ม Beta-lactams มีประสิทธิภาพในการยับยั้งและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งแกรมบวกและแกรมลบ แต่ในขณะเดียวกันเชื้อแบคทีเรียก็ได้มีการพัฒนาโครงสร้างในการต่อต้านฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะ หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า Superbugs โครงงานนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อออกแบบและพัฒนาโครงสร้างยาปฏิชีวนะ โดยดัดแปลงโครงสร้างทางเคมีของ Cephalosporins (7-aminocephalosporanic acid; 7-ACA) รวมถึง Penicillin (6-aminopenicillanic acid; 6APA) เพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพของ Cephalosporins และ Penicillin ในการต้านเชื้อแบคทีเรียได้หลากหลายสายพันธุ์ รวมถึงแบคทีเรียดื้อยาบางชนิด โดยการใช้ปฏิกิริยา N-acylation เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างในบริเวณคาร์บอนตำแหน่งที่ 7 ใน 7-ACA และคาร์บอนตำแหน่งที่ 6 ใน 6-APA และทำการยืนยันโครงสร้างของสารสังเคราะห์ด้วยเทคนิค High-performance liquid chromatography (HPLC), Nuclear magnetic resonance spectroscopy (NMR) และ Electrospray Ionization Mass Spectrometry (ESI-LCMS) รวมทั้งนำไปทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียด้วยเทคนิค Disk Diffusion Assay โดยคาดหวังผลการทดสอบที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการต้านเชื้อแบคทีเรีย และจากการนำสารสังเคราะห์ไปทดสอบได้ผลว่ามีสารสังเคราะห์สองอนุพันธ์ ที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก