ศึกษาประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำทิ้งด้วยไคโตซานจากเปลือกกุ้งผสมพอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ฐิติรัตน์ ลั่นซ้าย, จินต์จุฑา รัตนภรณ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กุสุมา เชาวลิต
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของน้ำทิ้งหลังการบำบัดโดยใช้ไคโตซานจากเปลือกกุ้งผสมพอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ เนื่องจากไคโตซานเป็นสารโพลิแซคคาไรด์ธรรมชาติ สังเคราะห์ได้จากไคตินซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเปลือกกุ้ง ทั้งยังมีคุณสมบัติเฉพาะที่หลากหลาย เช่น ไม่เป็นพิษ มีความเข้ากันได้กับชีวภาพ ย่อยสลายทางชีวภาพได้ดี จึงมีการใช้งานอย่างแพร่หลายด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อดูดซับไขมัน สี รวมถึงโลหะหนักที่ปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำ และพอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์เป็นสารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเช่นกัน เนื่องจากเป็นสารปลอดสารพิษไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ช่วยในการตกตะกอน จับโลหะหนักและสิ่งปนเปื้อนในน้ำ จึงถือเป็นหนึ่งในสารที่บำบัดน้ำได้ดีและมีประสิทธิภาพสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การทำโครงงานครั้งนี้มีการสกัดไคโตซานจากเปลือกกุ้งขาวที่ผ่านการต้มแล้วนำมาผ่านกระบวนการหลักของการกำจัดหมู่อะซิติลเพื่อให้ได้มาซึ่งไคโตซาน แล้วนำมาผสมกับพอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ โดยได้ทำการทดลองศึกษาของอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดของไคโตซานในปริมาณต่าง ๆ ( 0.4,0.5,0.6,0.7,0.8 กรัม ) กับพอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ 0.2 กรัม มาบำบัดน้ำทิ้งโดยวัดจากค่า DO ค่าความขุ่นของน้ำและการวิเคราะห์น้ำมันและไขมันของน้ำทิ้ง ตรวจสอบจากความสามารถในการดูดซับและการตกตะกอนของไคโตซานผสมพอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ โดยจากการศึกษาพบว่าไคโตซานมีส่วนช่วยในการบำบัดน้ำเสียและมีพอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ที่ช่วยในการตกตะกอนสิ่งปนเปื่อนในน้ำ และการเพิ่มหรือลดความเข้มข้นของไคโตซานมีผลทำให้ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำทิ้งลดลงได้