การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดจากผักชีลาวและย่านางต่อการควบคุมการงอกและการเจริญเติบโตของต้อยติ่ง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ภัทรพล ภาพีรนนท์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สุกัญญา กล่อมเกลี้ยง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การควบคุมวัชพืชด้วยการใช้สารกำจัดวัชพืชในประเทศไทยมีการใช้กันอย่างแพร่หลายมานานและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ (สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2561) เนื่องจากแรงงานในภาคเกษตรกรรมลดลงจึงจำเป็นต้องนำสารเคมีเข้ามาทดแทนแรงงานมากขึ้น แต่การใช้สารกำจัดวัชพืชก่อให้เกิดปัญหาการตกค้างของสารเคมีในพืช ดินและน้ำเป็นปัญหากระทบต่อห่วงโซ่อาหารเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์และสัตว์ และเกิดปัญหาวัชพืชต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืช (Macias et al, 2003; Singh et al, 2003) ปัจจุบันมีการศึกษาและนำสารสกัดจากพืชต่างๆมาใช้แทนสารเคมีสังเคราะห์ด้วยการใช้ปรากฏการณ์อัลลีโลพาธี (allelopathy) ซึ่งอัลลีโลพาเป็นปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในระบบนิเวศระหว่างพืชที่ปลดปล่อยสารอัลลีโลเคมิคอล (allelochemicals) ออกมาในสภาพแวดล้อมมีผลทั้งยับยั้งและกระตุ้นการเจริญ เติบโตของพืชชนิดอื่นโดยส่งผลกระทบต่อการงอกการเจริญเติบโตและการพัฒนาของพืชที่อยู่ข้างเคียง (Rimodo, 2001)

​ในปัจจุบันพบว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับอัลลีโลพาธีในพืชต่างๆเช่น (Wattanachaiyingchareonet al. 2016, p. 245) พบว่า สารสกัดด้วยน้ำจากต้นสาบเสือ (Eupatorium odoratumLinn.) สามารถยับยั้งการงอก และการเจริญเติบโตของวัชพืชบางชนิดในนาข้าวได้โดยสารกลุ่มหลักที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาธีได้แก่ กลุ่มฟีนอลิก อัลคาลอยด์ และกรดอะมิโนจากการศึกษาของ Thepphakhun & Intanon (2020, p.64) ที่ได้ทําการสกัดสารจากส่วนเหนือดินของสาบแมว (Praxelis clematidea(Griseb.)) พบสารฟีนอลิกฟลาโวนอยด์ และสารแอนติออกซิแดนท์ซึ่งมีผลต่อการยับยั้งการงอกและการเจริญเติบโตของกะหล่ำปลี (Brassica pekinensisL.) ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ Bundit & Prom-u-thai (2019, p. 479) พบว่า สารสกัดด้วยน้ําจากบาหยา (Asystasia gangetica) และดินที่ผสมด้วยผงบดละเอียดจากส่วนเหนือดินของบาหยาสามารถยับยั้งการเติบโตของผักกาดหอม (Lactucasativa) ได้

​งานวิจัยนี้จึงได้ทําการศึกษาผลของพืช 2 ชนิด ได้แก่ ผักชีลาว (Merr., Anethum graveolensLinn.) พบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ เทอร์ปีนอยด์ แทนนิน อัลคาลอยด์ เป็นต้น (Goodarziet al., 2016, p. 6) และย่านาง (Tiliacora triandraDiels.) พบสารกลุ่มฟีนอลิก และฟลาโวนอยด์ (Weerawatanakornet al., 2018, p. 36) ซึ่งสารดังกล่าวเป็นสารในกลุ่มอัลลีโลเคมิคอล โดยศึกษาผลของสารสกัดจากพืชดังกล่าวต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้อยติ่ง (Ruellia tuberosa) ซึ่งจัดเป็นวัชพืชในกลุ่มใบเลี้ยงคู่ (กลุ่มใบกว้าง) สามารถพบขึ้นทั่วไปตามไร่ สวนริมทางโดยผลการศึกษาที่ได้จะเป็นข้อมูลในการเลือกใช้สารสกัดจากพืชในการทดแทนการใช้สารกําจัดวัชพืชซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการผลิตพืชสุขภาพผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม