การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้วินิจฉัยโรคมะเร็งปอดและวัณโรคปอด โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชินภัทร บุญเกื้อ, ณาญา ศรีแก้ว, พัชรี บุญจันทร์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สิทธิศักดิ์ จินดาวงศ์, เจตนิพิฐ แท่นทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้วินิจฉัยโรคมะเร็งปอดและวัณโรคปอด โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก (Development of Artificial Intelligence for Diagnosing Lung Cancer and Pulmonary Tuberculosis Using Deep Learning Techniques) เป็นปัญญาประดิษฐ์สำหรับการวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดและวัณโรคปอด โดยใช้ภาพเอกซเรย์ทรวงอก โดยอาศัยหลักการของ Deep Learning มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ช่วยลดภาระงานแพทย์ในการวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดและวัณโรคปอด 2. ช่วยลดระยะเวลาในการวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดและวัณโรคปอด 3. ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดและวัณโรคปอด
การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้วินิจฉัยโรคมะเร็งปอดและวัณโรคปอด โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก (Development of Artificial Intelligence for Diagnosing Lung Cancer and Pulmonary Tuberculosis Using Deep Learning Techniques) จะทำงานโดยอาศัยหลักการของ Deep Learning คือการที่ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ที่่เลียนแบบการทำงานของระบบโครงข่ายประสาทในสมองมนุษย์ โดยการนำภาพตัวอย่างเข้า ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อทำการฝึกวิเคราะห์(Train) แล้วทำการทดสอบ(Test) ปัญญาประดิษฐ์ให้ปัญญาประดิษฐ์เกิดการเรียนรู้และสามารถจำแนกผลลัพธ์ของภาพตามลักษณะคือ 1. ภาพที่ไม่ใช่ภาพเอกซเรย์ทรวงอก 2. ภาพเอกซเรย์ปอดปกติ 3. ภาพเอกซเรย์ทรวงอกผู้ป่วยมะเร็งปอด 4. ภาพเอกซเรย์ทรวงอกผู้ป่วยวัณโรคปอด
เทคโนโลยีที่ใช้พัฒนาโปรแกรม ได้แก่ CiRA CORE และ Google Drive ในการเก็บรวมรวมข้อมูล เขียนโค้ดคำสั่ง ฝึกวิเคราะห์ และทดสอบปัญญาประดิษฐ์
โครงงานนี้เป็นโครงการที่ได้รับทุนอุดหนุนการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 23 ประจำปีงบประมาณ 2564 จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม