การศึกษาการออกฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากกระเทียมที่ผ่านกระบวนการในการประกอบอาหารและการจำลองสภาวะในระบบทางเดินอาหาร ที่ส่งผลต่อการยับยั้งการแข็งตัวของเลือดและการสลายตัวของลิ่มเลือด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อรรคพล พันธ์ขาว, กฤษณะ สังข์ศิริ, ภัทร์ดนัย ธัญญะกิจไพศาล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐพงศ์ นพโลหะ, ปุณยาพร พลายงาม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากการศึกษาโครงงานเรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากสมุนไพรที่ช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือดและการสลายลิ่มเลือด (ธเนศ ดำคลองตัน และคณะ, 2560: บทคัดย่อ) เมื่อนำเลือดมาทดสอบกับสารสกัดหยาบกระเทียมในหลอดทดลอง (In vitro) พบว่าสามารถยับยั้งการแข็งตัวของเลือด และทำให้เกิดการสลายลิ่มเลือดได้ อีกทั้งยังพบว่าไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ โดยสารออกฤทธิ์ดังกล่าวที่พบในกระเทียมคือสาร Allicin
ทั้งนี้การบริโภคกระเทียมในชีวิตประจำวันมักจะนำไปเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบอาหารซึ่งผ่านกระบวนในรูปแบบต่างๆ เช่น ต้ม ทอด ผัด และดอง เป็นต้น อีกทั้งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วกระเทียมจะต้องผ่านระบบทางเดินอาหารตั้งแต่ปาก จนถึงลำไส้เล็กก่อนจะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ทางผู้จัดทำโครงงานจึงสนใจศึกษาว่าเมื่อกระเทียมที่ผ่านการต้ม ทอด ผัด ดอง และเมื่ออยู่ในระบบทางเดินอาหาร สารออกฤทธิ์ที่อยู่ในกระเทียมจะยังคงสภาพเดิมอยู่หรือไม่ และยังคงประสิทธิภาพในการยับยั้งการแข็งตัวของเลือดและการสลายลิ่มเลือดอย่างไร