การบำบัดปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ที่ปนเปื้อนในอากาศภายในโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ประเภทไม้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐิดา ยังเจริญ, สมศักดิ์ มรรควิวัฒน์, ธนาทิพย์ ไผทสิทธิกุล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จิตรพล เจริญวงศานนท์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) จัดเป็นสารพิษที่ปนเปื้อนในอากาศที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพของมนุษย์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และส่งกลิ่นเหม็นฉุน โดยทั่วไปสารฟอร์มาลดีไฮด์นิยมใช้ในอุตสาหกรรมสี กาว และสารเคลือบเฟอร์นิเจอร์ไม้ ไม้อัด และไม้แปรรูปอื่น ๆ ไอระเหยของสารฟอร์มาลดีไฮด์ที่แฝงอยู่ในสิ่งเหล่านั้นถือว่าเป็นภัยต่อผู้อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นโครงงานนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อบำบัดปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ที่ปนเปื้อนในอากาศภายในโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ประเภทไม้
โดยหลักการทำงานคือ ดูดอากาศเข้าไปภายในเครื่อง ภายในมีฟิลเตอร์กรองมลพิษในอากาศประเภทต่างๆ เช่น ฝุ่นละออง เศษไม้ ฟอร์มาลดีไฮด์ กลิ่น ซึ่งใช้หลักการกรองทางกล และหลักการกรองทางเคมี ลำดับในการกรองจะเป็นไปตามขนาดของโมเลกุล โดยลำดับที่ 1 : กรองเศษไม้ ใช้ฟิลเตอร์กรองอากาศแบบทั่วไป ลำดับที่ 2 : กรองฝุ่นละออง ใช้ฟิลเตอร์กรองอากาศแบบทั่วไป ลำดับที่ 3 : กรองฟอร์มาลดีไฮด์ ใช้ฟิลเตอร์กรองอากาศแบบทั่วไปโดยเคลือบด้วยสารไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium dioxide:TiO2) ลำดับที่ 4 : ดูดซับกลิ่นไม่พึงประสงค์ด้วย ถ่านกัมมันต์จากกะลามะพร้าว (Coconut Shell Based Activated Carbon) เมื่อกรองอากาศสำเร็จจะปล่อยอากาศที่บริสุทธิ์กลับคืนสู่บรรยากาศ จากการศึกษาและสร้างพบว่าเครื่องบำบัดปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ที่ปนเปื้อนในอากาศภายในโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ประเภทไม้ สามารถลดปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ที่ปนเปื้อนในอากาศและลดกลิ่นเหม็นฉุนได้ ทดสอบการใช้งานโดยนำอากาศที่ผ่านการกรองโดยเครื่องแล้วจุ่มลงไปในน้ำปริมาณ 1 ลิตร เพื่อวัดปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ด้วยเครื่องจีซี สเปคโตรมิเตอร์