การศึกษาประสิทธิภาพการย่อยสลายโมเลกุลพลาสติกชนิดPolyethyleneในถุงดำที่มีคุณสมบัติต่างกันจากเส้นใยไมซีเลียมของเห็ดนางรม

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กิ่งกาญจน์ รัตนพงษ์, ธนพร พรมใจดี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สุทธีวรรณ ใจสันติ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานฉบับนี้เป็นโครงงานที่ศึกษาการย่อยสลายทางชีวภาพของพอลิเมอร์พลาสติกชนิดPolyethyleneในถุงดำจากเส้นใยไมซีเลียมของเห็ดนางรม มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ทรัพยากรทางชีวภาพย่อยสลายพอลิเมอร์ของพลาสติกชนิดPolyethyleneโดยก่อให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด วิธีการศึกษาประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลของพอลิเมอร์พลาสติกชนิดPolyethylene โดยพิจารณาคุณสมบัติความหนาแน่นสูงและชนิดที่มีคุณสมบัติกึ่งหนาแน่นสูงและกึ่งความหนาแน่นต่ำและศึกษาการชักนำเส้นใยไมซีเลียมของเห็ดนางรม จากนั้นออกแบบการทดลองและดำเนินการทดลองตามแผนนั่นคือนำแผ่นพลาสติกถุงดำให้เส้นใยไมซีเลียมทำการปล่อยเอนไซม์เพื่อย่อยสลายโมเลกุลในพอลิเมอร์ของถุงดำ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากการนำแผ่นของถุงดำไปส่องในกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด โดยเปรียบเทียบจากถุงดำแผ่นเดียวกันก่อนนำไปย่อยสลายด้วยเส้นใยไมซีเลียม จากผลการศึกษาที่พบเกี่ยวกับเห็ดนางรม พบว่าในเส้นใยไมซีเลียมของเห็ดนางรมมีส่วนประกอบคือLaccaseที่เป็นเอนไซม์ซึ่งสามารถย่อยสลายและทำลายสายพอลิเมอร์ของพลาสติกPolyethyleneได้จริง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ นั่นคือได้วิธีการในการย่อยสลายพลาสติกโดยใช้เห็ดราซึ่งพบเจอได้ง่าย ราคาถูก ขยายพันธ์ุได้ง่ายและได้จำนวนมาก และไม่ส่งผลเสียสภาพแวดล้อม รวมไปถึงได้ทราบว่าเส้นใยไมซีเลียมของเห็ดนางรมสามารถย่อยสลายพอลิเมอร์ในพลาสติกชนิดPolyethyleneในคุณสมบัติแบบใดมากที่สุดและสามารถนำไปต่อยอดให้มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายพลาสติกได้มากกว่าเดิม