ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ของการระบาดโรคพยาธิใบไม้ตับ ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จิณห์นิภา ทิพย์ศิริ, ตราวุทธิ์ เรืองชัยเจริญ, ชินกฤต ฤทธิ์รักษา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชุมพล ชารีแสน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในโครงงานนี้ได้สร้างแบบเชิงคณิตศาสตร์เพื่ออธิบายการแพร่ระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมาจากพฤติกรรมการกินปลาลุ่มแม่น้ำจืดในลักษณะกึ่งสุกกึ่งดิบของประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยพิจารณาประชากรพาหะของโรคคือปลาในลุ่มแม่น้ำจืด (It) และแบ่งประชากร เป็น 5 กลุ่ม คือ ประชากรกลุ่มเสี่ยง (S) ประชากรผู้เป็นโรคพยาธิใบไม้ในตับ (I) ประชากรผู้เป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดี (D) ประชากรผู้ที่หายจากการเป็นโรคพยาธิใบไม้ในตับ (R1) และประชากรผู้หายจากโรคมะเร็งท่อน้ำดี (R2) จากนั้นวิเคราะห์ตัวแบบโดยดำเนินการเพื่อให้ได้จุดสมดุลและเสถียรภาพของจุดสมดุล ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน R0 ได้ถูกคำนวณเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขสำหรับเสถียรภาพของระบบ เมื่อ R0<1 จะสามารถจำกัดโรคได้ในประชากรกลุ่มเสี่ยง ในขณะที่โรคยังคงมีอยู่เมื่อR0 >1 โดยใช้ความรู้เรื่อง อนุพันธ์และเมทริกซ์