เครื่องวัดปริมาณแร่ธาตุหลัก ปริมาณความชื้น และค่า pH ภายในดินระบบกึ่งอัตโนมัติ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

รดา จิตวิศรุตกุล, บุญฐิตา พรรณกุล, เกวลิน สิงห์แก้ว

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ประภาส รวมปะระ, จามจุรี พรหมเผ่า

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพะเยาพิทยาคม

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม กว่าครึ่งหนึ่งของประชากรไทยมีอาชีพเกษตรกรรม ส่งผลให้

ประเทศไทยมีจำนวนประชากรในภาคเกษตรไม่น้อยกว่าสามสิบล้านคน ปัจจัยอย่างหนึ่งที่ส่งผลให้พืชมีความ

อุดมสมบูรณ์ได้นั้น คือ ดิน โดยดินที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืชจะต้องมีลักษณะและสมบัติของดินทาง

กายภาพ เคมี และชีวภาพที่เหมาสม มีปริมาณน้ำ รวมไปถึงแร่ธาตุอาหารปริมาณที่เหมาะสมต่อการ

เจริญเติบโต ซึ่งแร่ธาตุอาหารหลักที่สำคัญของพืชได้แก่ NPK (Nitrogen,Phosphorus,Potassium) และใน

ปัจจุบันเกษตรกรสามารถตรวจวัดปริมาณแร่ธาตุในดิน(NPK)ได้จากชุดตรวจสอบดินภาคสนาม(LDD Test Kit)

โดยหมอดินอาสาจากกรมพัฒนาที่ดินจะเป็นผู้ทดสอบแร่ธาตุในดิน และปัญหาที่พบคือ หมอดินอาสาไม่

สามารถช่วยเหลือได้ทั่วถึงทุกพื้นที่ รวมถึงบางพื้นที่ยังคลาดแคลนบุคคลากรหมอดินอาสา คณะผู้จัดทำจึง

ออกแบบเครื่องวัดปริมาณความชื้น pH และปริมาณแร่ธาตุหลักในดินระบบกึ่งอัตโนมัติโดยใช้หลักการวัดค่า

การดูดกลืนแสงของแร่ธาตุNPKในดินด้วยเซนเซอร์วัดความเข้มแสง ซึ่งใช้ไดโอดเปล่งแสง(LED)สามหลอดที่มี

ความยาวคลื่นจำเพาะตามชนิดของ แร่ธาตุทั้งสามชนิด และแสดงผลค่าปริมาณแร่ธาตุทั้งสามชนิดผ่าน

จอแสดงผล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบสร้างเครื่องตรวจวัดปริมาณแร่ธาตุหลักในดินและทดสอบ

ประสิทธิภาพของเครื่องให้มีประสิทธิภาพที่สามารถใช้งานได้จริง ใช้เวลาในการตรวจสอบน้อย สะดวกสบาย

และใช้งานง่ายไม่ซับซ้อนเข้าถึงเกษตรกร รวมถึงผู้ที่ต้องการใช้ตรวจปริมาณแร่ธาตุNPK ปริมาณความชื้นและ

pH ในดิน ในเครื่องเดียว