ผลิตภัณฑ์ฝ้าเพดานจากชานอ้อย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ศราวุธ วิริยะกริ่มกมล, ชารีฟ วาหลง, มฤคพล นกเกตุ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สุธี จุ้งลก

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานผลิตภัณฑ์ฝ้าเพดานจากชานอ้อย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของฝ้าจากชานอ้อยโดยพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพ และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ฝ้าจากชานอ้อย อีกทั้งเพื่อนำชานอ้อยซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตรมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้ 1)ออกแบบส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ฝ้าเพดานจากชานอ้อย หลังจากนั้นนำชานอ้อยมาล้างทำความสะอาดและปั่นให้ละเอียด 2)นำชานอ้อยที่ละเอียดแล้ว ตากให้แห้งด้วยอุณภูมิปกติ มีค่าอุณหภูมิประมาณ32-36องศาเซลเซียส 3)ทำการผสมตามอัตราส่วนที่ได้ออกแบบมาข้างต้น และนำเข้าเตาอบที่อุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง 4)ทดสอบประสิทธิภาพในการดูดซึมน้ำ ประสิทธิภาพในการนำความร้อนของผลิตภัณฑ์ฝ้าเพดานจากชานอ้อย และ ทดสอบประสิทธิภาพของแรงกดแตกตามแนวยาว ตามแนวขวาง สุดท้ายนำค่าที่ได้มาสร้างกราฟเพื่อแสดงค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ฝ้าเพดานจากชานอ้อย

จากการทดสอบพบว่า ลักษณะของชานอ้อยที่มีช่องว่างเป็นรูพรุนค่อนข้างมาก เมื่อผสมกับยิปซัมเพื่อเป็นแผ่นฝ้าเพดานจึงทำให้มีผลต่อพฤติกรรมการดูดซึมน้ำของแผ่นฝ้าเพดานจากชานอ้อยที่เพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนผสม

การนำความร้อนเป็นการทดสอบคุณสมบัติของแผ่นฝ้าเพดานที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการป้องกันความร้อนจากหลังคาสู่ภายในตัวอาคาร พบว่าแผ่นฝ้าเพดานที่มีปริมาณชานอ้อย ที่อัตราส่วน 1:1:0.05:50(กรัม) มีค่าการนำความร้อนต่ำที่สุด มีค่าเท่ากับ 0.23 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน และจากผลการทดสอบแรงกดแตกยามแนวยาวและแนวขวาง พบว่าอัตราส่วนของชานอ้อยที่มีค่ามากที่สุดสำหรับการทดสอบการรับแรงกดแตก คืออัตราส่วนผสมปูนยิปซัมต่อชานอ้อยเท่ากับ 1:1:0.05:50(กรัม) ลองลงมาคืออัตราส่วน 1:1:0.05:60(กรัม) อย่างไรก็ตามการเพิ่มชานอ้อยในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ปูนยิปซัมไม่สามารถเชื่อมประสานกับชานอ้อยและส่วนผสมทั้งหมดให้เป็นฝ้าที่แข็งแรงได้ เมื่อเทียบกับ มอก. 219-2552 เรื่องแผ่นยิปซัม