ศึกษาการกำจัดคราบน้ำมันบนผิวน้ำ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

เจษฎา ยืนยง, กมลทิพย์ ทองสามสี, ยูริม ลี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ฉวีวรรณ อ้นโสภา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวารีเชียงใหม่

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ชื่อโครงงาน ศึกษาการกำจัดคราบน้ำมันบนผิวน้ำ

ผู้จัดทำ

1.นาย เจษฏา ยืนยง

2.นางสาว ยูริม ลี

3.นางสาว กมลทิพย์ ทองสามสี

โรงเรียนวารีเชียงใหม่อินเตอร์เนชั่นเนล อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000

บทคัดย่อ

การรั่วไหลของน้ำมันสามารถเกิดได้ทั้งตามธรรมชาติ เช่น รั่วจากแหล่งน้ำมันใต้ดิน หรือจากการกระทำของมนุษย์ เช่น อุบัติเหตุจากเรือ การขุดเจาะน้ำมัน หรือการลักลอบปล่อยทิ้งสู่แหล่งน้ำ การรั่วไหลส่วนมากมักมีที่มาจากกิจกรรมของมนุษย์ ผลกระทบจากน้ำมันรั่วไหลน้ำมันที่รั่วไหลสู่แหล่งน้ำจะเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพ ทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ เริ่มจากน้ำมันบางส่วนระเหยไป น้ำมันที่เหลือจะเปลี่ยนสภาพไปตามคุณสมบัติเฉพาะของชนิดน้ำมันนั้นๆ และปัจจัยต่างๆ เช่น แสงแดด กระแสน้ำ อุณหภูมิ ฯลฯ คราบน้ำมันที่ลอยอยู่บนผิวน้ำจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง และปิดกั้นการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืช สาหร่าย และพืชน้ำต่างๆ เปลี่ยนแปลงสภาวะการย่อยสลายของแบคทีเรียในน้ำ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดล้วนส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น การกำจัดคราบน้ำมัน หากเราสามารถนำวัสดุเหลือใช้มาดูดซับน้ำมันได้ก็จะเป็นการไม่ทำให้เกิดสารตกค้างในสิ่งแวดล้อมและไม่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร มีตัวอย่างดังนี้ 1.แกลบ ผักตบชวาที่ก่อให้เกิดมลพิษในแหล่งน้ำ ฟางข้าว ขุยมะพร้าว ขี้เลื่อย แกลบเผา และวัสดุอื่นๆที่ไม่ใช่ผลผลิตที่เหลือใช้จากการเกษตร แต่เป็นวัสดุที่ไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ใดๆคือ เส้นผม และ ขนไก่ และวัสดุเหล่านี้อาจจะใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดูดซับคราบน้ำมันดังกล่าวได้ โดยการทดลองตามขั้นตอนต่างๆที่จะได้ดำเนินงานต่อไป ถ้าวัสดุเหล่านี้สามารถดูดซับได้ดีก็จะเป็นประโยชน์แก่มวลมนุษย์ไม่น้อย โดยแทนที่จะทิ้งให้เปล่าประโยชน์ แต่สามารถกลับนำมาใช้ประโยชน์และแปรรูปให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการให้ง่ายขึ้น

ปัญหา การกำจัดคราบน้ำมันหลายๆชนิดมีวิธีกำจัดที่ยุ่งยากซับซ้อนขณะเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลจริงๆการรับสถานการณ์จริงๆยังเกิดความวุ่นวายยุ่งยากและกำจัดได้ไม่ได้ดีเท่าที่ควรเราจะมีวิธีกำจัดคราบน้ำมันเหล่านี้อย่างไรให้เกิดผลดีที่สุด

สมมุติฐาน

สารที่กำจัดคราบน้ำมันทุกชนิดที่ดีที่สุดคือ แกลบเหลือง

ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากวัสดุเหลือใช้ที่กำจัดคราบน้ำมันได้ดีที่สุดคือถุงผ้าที่บรรจุแกลบเหลือง

เชื้อเพลิงที่ได้จากการแปรรูปแกลบเหลืองที่ดูดซับน้ำมันเบนซินให้ค่าพลังงานความร้อนมากที่สุด

กระดาษที่ทำด้วยแกลบเหลืองที่ใช้ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ 10 % สามารถดูดซับคราบน้ำมันได้ดีที่สุด

กระบวนการและขั้นตอนการทดลอง

การทดลองตอนที่ 1

สมมุติฐาน

สารที่กำจัดคราบน้ำมันทุกชนิดที่ดีที่สุดคือ แกลบเหลือง

ตัวแปรในการศึกษา

ตัวแปรต้น วัสดุต่างๆ 8 ชนิด แกลบเหลือง ผักตบชวา ฟางข้าว ขุยมะพร้าว ขี้เลื่อย แกลบเผา เส้นผม และ ขนไก่

ตัวแปรตาม ปริมาตรน้ำมันที่เหลือ

ตัวแปรควบคุม น้ำหนักของวัสดุ ปริมาตรน้ำมัน ปริมาตรน้ำ เวลาที่ดูดซับ

ทดลองการดูดซับคราบน้ำมันชนิดต่างๆ โดยใช้น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบนซิน น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ 4 นิด โดยใช้ วัสดุที่เหลือใช้ในการดูดซับน้ำมันทั้ง 4 ชนิด คือ แกลบเหลือง ผักตบชวาที่ก่อให้เกิดมลพิษในแหล่งน้ำ

ฟางข้าว ขุยมะพร้าว ขี้เลื่อย แกลบเผา และวัสดุอื่นๆที่ไม่ใช่ผลผลิตที่เหลือใช้จากการเกษตร แต่เป็นวัสดุที่

ไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ใดๆคือ เส้นผม และ ขนไก่ โดยใช้วัสดุต่างๆประมาณ 50 กรัม ดูดซับน้ำมัน 4 ชนิด รวม 32 ครั้งในการทดลอง โดยการใช้น้ำ 1500 มิลลิลิตร และน้ำมัน 100 มิลลิลิตร ตักสารดูดซับขึ้นมาวัดปริมาตรน้ำมันที่เหลือว่าเหลือกี่มิลลิลิตร จดบันทึกผลการทดลอง

ตัวอย่างการทดลองตอนที่ 1

การทดลองตอนที่ 2

สมมุติฐาน

เชื้อเพลิงที่ได้จากการแปรรูปแกลบเหลืองที่ดูดซับน้ำมันเบนซินให้ค่าพลังงานความร้อนมากที่สุด

ตัวแปรต้น ชนิดของวัสดุ แกลบเหลือง ผักตบชวา ฟางข้าว ขุยมะพร้าว ขี้เลื่อย

ตัวแปรตาม ค่าพลังงานความร้อนของวัสดุต่างๆ

ตัวแปรควบคุม น้ำหนักพาราฟิน ปริมาณวัสดุ ขนาดท่อที่เป็นพิมพ์เชื้อเพลิง ปริมาตรน้ำที่ใช้ต้ม

ศึกษาทดลองเอาสารที่ได้จากการดูดซับมาทำเป็นเชื้อเพลิงแข็งโดยการผสมพาราฟินโดยใช้พาราฟิน 50 กรัม ต่อสารดูดซับ 50 กรัม โดยนำไปต้มให้เข้ากันและอัดในท่อพีวีซี เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 cm. ความยาว 10 cm. โดยเลือกเอาสารที่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้คือ ผักตบชวา แกลบ ฟางข้าว ขุยมะพร้าว และขี้เลื่อยแล้วหาค่าพลังงานความร้อนโดยหาค่าพลังงานความร้อนจากพาราฟิน 50 กรัมก่อนแล้วหาค่าพลังงานความร้อนของเชื้อเพลิงทั้งหมด 16 ชนิดบันทึกผลการทดลอง

ตัวอย่างการทดลองตอนที่ 2

การทดลองตอนที่ 3

สมมุติฐาน

ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากวัสดุเหลือใช้ที่กำจัดคราบน้ำมันได้ดีที่สุดคือถุงผ้าที่บรรจุแกลบเหลือง

ตัวแปรต้น ผักตบชวา แกลบ ฟางข้าว ขุยมะพร้าว ขี้เลื่อย ขนไก่ และเส้นผม

ขนาดของตาข่าย

ตัวแปรตาม ปริมาตรน้ำมันที่เหลือ

ตัวแปรควบคุม ปริมาตรน้ำมันทุกชนิด ปริมาณวัสดุ ขนาดถุง

ศึกษาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่สามารถกำจัดคราบน้ำมันได้ดีที่สุด โดยใช้สารดูดซับทั้ง 8 ชนิด คือ คือ ผักตบชวา แกลบ ฟางข้าว ขุยมะพร้าว ขี้เลื่อย ขนไก่ และเส้นผม บรรจุในถุงตาข่าย 3 ขนาด ตาข่ายขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ขนาด 100 cm X 40cm. เย็บเป็นรูปทรงกระบอก เย็บหัวท้าย แล้วนำน้ำมันเครื่องปริมาตร 1000 มิลลิลิตรใส่ลงไปในอ่างพลาสติกขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 150 cm. สูงประมาณ 40 cm. และใช้ผลิตภัณฑ์หย่อนลงไปดูดซับ วัดปริมาตรน้ำมันที่เหลือบันทึกผลการทดลอง

การทดลองตอนที่ 4

สมมุติฐาน

กระดาษที่ทำด้วยแกลบเหลืองที่ใช้ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ 10 % สามารถดูดซับคราบน้ำมันได้ดีที่สุด

ตัวแปรต้น ผักตบชวา แกลบ ฟางข้าว ขุยมะพร้าว ขี้เลื่อย

ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ 5% 10% 15%

ตัวแปรตาม ปริมาตรน้ำมันที่เหลือ

ตัวแปรควบคุม ขนาดของกระดาษ พื้นที่ ปริมาตรน้ำมัน

ศึกษาการแปรรูปผลิตภัณฑ์โดยใช้สารดูดซับทั้ง 5 ชนิดที่สามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นกระดาษได้ โดยใช้ผักตบชวา แกลบ ฟางข้าว ขุยมะพร้าว และขี้เลื่อยนำไปสับให้ละเอียด นำมาต้มใส่โซเดียมไฮดรอกไซด์ลงไปในอัตราส่วน สาร 50 กรัม โซเดียมไฮดรอกไซด์ 5 กรัม หรือ 10 กรัม 15 กรัม ปริมาณใดดีที่สุด แล้วนำไปใส่ในตะแกรงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 cm. ทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง แล้วเอามาลอกให้หลุดเป็นแผ่น แล้วนำมากระดาษทุกชนิดศึกษาการดูดซับน้ำมันในอ่างพลาสติก ขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 150 cm. สูงประมาณ 40 cm. และใช้ผลิตภัณฑ์หย่อนลงไปดูดซับ วัดปริมาตรน้ำมันที่เหลือบันทึกผลการทดลอง

ศึกษาความละเอียดของสารและปริมาณความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ปริมาณเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับการทำกระดาษเพื่อดูดซับคราบน้ำมัน

ศึกษาว่ากระดาษสารชนิดใดดูดซับน้ำมันแต่ละชนิดว่าชนิดใดดีที่สุด

การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ผลการทดลองจากการทดลองในรูปแบบของตารางและกราฟหาความแตกต่างจากการดูดซับของสารแต่ละชนิด และสรุปผลออกมาโดยหาความเป็นไปได้ในการใช้ในสภาพจริงและแปรรูปผลิตภัณฑ์ทดลองและทดสอบในสภาพจริงวิเคราะห์ผลจากข้อมูลในการทดลองทั้งหมด

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

คาดว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้สามารถกำจัดคราบน้ำมันได้จริงตามธรรมชาติตามแหล่งน้ำต่างๆ ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นไม่เปลืองพลังงานใช้งบประมาณน้อยและขจัดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ง่าย

บรรณานุกรม

ศิริพร พงศ์สันติสุข. (2541). การกําจัดคราบไขมันในนาโดยใช้วัสดุธรรมชาติเป็นตัวดูดซับ. วิทยานิพนธ์ วท.ม.(เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม). กรงเทพฯ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิริพร พงศ์สันติสุข . (2541). การกำจัดคราบน้ำมันในน้ำโดยใช้วัสดุธรรมชาติเป็นตัวดูดซับ.     กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ฉบับปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ:โครงการสหวิทยการบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,2540.