ศึกษาวัสดุสาหรับป้องกันรังสีเอกซ์จากแบเรียมซัลเฟตและ คลอโรฟิลล์จากธรรมชาติ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ปิยะบุตร นาคสาทา, สิริปรียา พิพัฒน์พัลลภ, นงนภัส ลาวเมือง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ฉวีวรรณ อ้นโสภา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวารีเชียงใหม่

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง “ศึกษาวัสดุสำหรับป้องกันรังสีเอกซ์จากแบเรียมซัลเฟตและคลอโรฟิลล์จากธรรมชาติ” เป็นโครงงานประเภททดลอง แบ่งการทดลองออกเป็น2ตอน คือ1.การเอกซ์เรย์เพื่อวัดค่ารังสีที่ทะลุผ่านวัสดุป้องกันรังสีแต่ละชนิด และ 2.การเอกซ์เรย์เพื่อดูความหนาแน่นและความสารถในการกันรังสีเอกซ์ของวัสดุป้องกันรังสีเอกซ์แต่ละชนิด ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ ที่ความหนา 5 เซนติเมตรปูนผสมกับแบเรียมซัลเฟตอัตราส่วน1:1,ปูนผสมกับผักชีและแบเรียมซัลเฟต และปูนผสมกับปวยเล้งและแบเรียมซัลเฟตมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีเอกซ์ได้สูงที่สุด ที่ความหนา 3 เซนติเมตรปูนผสมกับแบเรียมซัลเฟตอัตราส่วน1:1มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีเอกซ์สูงที่สุด และที่ความหนา 1 เซนติเมตรปูนผสมกับปวยเล้งและแบเรียมซัลเฟตมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีเอกซ์สูงที่สุด และสามารถสรุปได้ว่าอัตราส่วนของแบเรียมซัลเฟตต่อปูนมีผลต่อประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีเอกซ์โดยยิ่งมีอัตราส่วนของแบเรียมซัลเฟตมากประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีเอกซ์จะยิ่งสูงและสามารถสรุปได้ว่าความหนาของวัสดุป้องกันรังสีมีผลต่อประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีเอกซ์โดยยิ่งมีความหนามากจะยิ่งมีความสามารถในการป้องกันรังสีเอกซ์เพิ่มมากขึ้นตามความหนา