การสังเคราะห์ซิงค์กลีเซอโรเลตจากกลีเซอรอลด้วยสารตั้งต้นซิงค์ออกไซด์และประสิทธิภาพการสะท้อนแสง UV ของซิงค์กลีเซอโรเลต
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ภคพร เพชรโกศัย, ณัฏฐธิดา นะภิใจ, สิริกร หล้าคำมี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วรันภัทร รัตนการุณจิต
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้ผู้พัฒนาสนใจถึงการศึกษาการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลีเซอรอล ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล เนื่องจากผู้พัฒนาทราบว่าในปัจจุบันมีแนวโน้มการผลิตไบโอดีเซลที่เพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลมาจากความต้องการใช้พลังงานที่สูงขึ้น ถ้าหากมีการนำกลีเซอรอลไปทิ้งตามแหล่งธรรมชาติ หรือกำจัดอย่างผิดวิธี อาจส่งผลทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับการศึกษาครั้งนี้จึงได้เลือกใช้กลีเซอรอล บริสุทธิ์และซิงค์ออกไซด์เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ซิงค์กลีเซอโรเลต ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่ามากกว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนและเวลาที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ซิงค์กลีเซออโรเลตจากกลีเซอรอลด้วยสารตั้งต้นซิงค์ออกไซด์ โดยสร้างชุดการทดลองที่มีอัตราส่วนระหว่างซิงค์ออกไซด์ต่อกลีเซอรอลที่แตกต่างกัน เพื่อหาสารตั้งต้นที่ใช้กำหนดความเข้มข้นเป็น 5, 6และ7 โมลาร์ จากนั้นนำมาทำปฎิกิริยาบนเครื่องกวนสารพร้อมให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 0.5, 1, 1.5และ2 ชั่วโมง ตามลำดับ และนำซิงค์กลีเซอโรเลตที่สังเคราะห์ได้มาวิเคราะห์ประสิทธิภาพการสะท้อนแสง UV ด้วยเครื่อง Lux Meter ทำให้ทราบถึงสภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ซิงค์กลีเซอโรเลตจากกลีเซอรอล รวมถึงประสิทธิภาพการสะท้อนแสง UV ของซิงค์กลีเซอโรเลตที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยกลีเซอรอล เพื่อเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของซิงค์กลีเซอโรเลตต่อไป