การจัดรูปแบบการเลือกตั้งที่ดีที่สุดเพื่อนำมาปรับใช้ในโรงเรียน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ภัทรพล บุญแซม, โศภิษฐา ลือชา, ปวิชญา บูรณะศรี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วิภาดา จันล่องคำ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

นานาประเทศล้วนมีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ประเพณีวัฒนธรรม ศาสนา และค่านิยมแตกต่างกัน รวมถึงอิทธิพลทางด้านสงคราม การล่าอาณานิคมในอดีตก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ประเทศเหล่านั้นมีลักษณะการเมือง และการปกครองที่ต่างกัน สำหรับประเทศที่มีรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยซึ่งเป็นระบบการปกครองที่ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยประชาชนมีบทบาทในการเลือกตั้งผู้แทนเข้ามาบริหารประเทศ และในแต่ละประเทศก็จะดำเนินการจัดการเลือกตั้งท่ีมีรูปแบบแตกต่างกันทั้งรูปแบบพรรคการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองในภาคประชาชน รวมถึงบทบาท และหน้าที่ขององค์กรจัดการเลือกตั้ง คณะผู้จัดทำเห็นความสำคัญของการจัดการเลือกตั้งในประเทศจึงนำความรู้ทางคณิตศาสตร์มาใช้เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเลือกตั้งให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ จากการศึกษารูปแบบการจัดการเลือกตั้ง ระบบพรรคการเมืองส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในภาคประชาชนที่แตกต่างกัน การเลือกตั้งผู้ที่จะมาบริหารประเทศอย่างเหมาะสมนั้นจะนำมาซึ่งความมั่นคงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม รูปแบบของการจัดการเลือกตั้งท่ีมีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญต่อประเทศชาติเป็นอย่างมาก

คณะผู้จัดทำจึงได้นำความรู้ทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนารูปแบบการเลือกตั้งที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำมาปรับใช้ได้