กลูโคซามีนจากเปลือกหอยเชอรี่
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วรางคณา คำภักดี, เมธาวี ขันตี, กนิษฐา อุปจันทร์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ธันยพร ป้องกัน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การพัฒนาโครงงานนี้มุ่งศึกษาการหาปริมาณกลูโคซามีนที่เป็นสารสำคัญของกระบวนการสร้างกระดูกอ่อน โดยสกัดจากหอยเชอรี่ซึ่งเป็นหอยที่มีอยู่มาก และหาได้ง่าย การหาปริมาณกลูโคซามีน
ทำได้ด้วยการวัดค่าการดูดกลืนแสงของสเปกโทรสโกปี โดยนำเปลือกหอยเชอรี่ไปทำการไฮโดรไลต์
ด้วยกรดไฮโดรคลอริกที่อุณหภูมิ 100 °C เป็นเวลา 4 ชั่วโมง จากนั้นนำสารตัวอย่างไปเจือจางด้วย
แอซีทิลแอซีโทนในโซเดียมคาร์บอเนต สารตัวอย่างจะถูกนำไปทำปฏิกิริยากับสารละลาย Ehrlich แล้วนำไปวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 530 นาโนเมตร จากนั้นคำนวณหาปริมาณกลูโคซามีนที่สกัดหอยเชอรี่ที่สกัดได้ในหน่วยมิลลิกรัมต่อกรัม