นิเวศวิทยาของตัวกะปิสายพันธุ์คูบาริส
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กัลยา เกิดสุวรรณ์, ศิริกัลยา ยลชม, ชลธิฌา ภารสงวน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชุมพล ชารีแสน, ณัฐริกา ฉายสถิตย์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดยอ
การศึกษานิเวศวิทยาของตัวกะปิพันธุ์คูบาริส ได้ทำการตรวจวัดสมบัติดินบริเวณแหล่งที่อยู่ที่
พบ และไม่พบตัวกะปิ โดยพบว่า อุณหภูมิดิน ค่า pH และ ค่าความชื้นดิน มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกันไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อตรวจวัดธาตุอาหารในดิน พบว่าแหล่งที่อยู่ที่พบตัวกะปิมีค่าธาตุไนโตรเจน(N) 108.75±18.90 ppm ฟอสฟอรัส(P) 7.92±1.26 ppm และโพแทสเซียม(K) 72.50±18.69 ppm ตามลำดับ ส่วนแหล่งที่อยู่ที่ปัจจัยแวดล้อมอื่นคล้ายกันแต่ไม่พบตัวกะปิเมื่อตรวจวัดค่าธาตุอาหารในดินมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่า โดยพบว่า ค่าธาตุไนโตรเจน(N) 50.42±26.77 ppm ฟอสฟอรัส(P) 3.53±1.37 ppm และโพแทสเซียม(K) 35.83±12.60 ppm ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบแล้วมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
เมื่อสังเกตพฤติกรรมของตัวกะปิที่ตอบสนองต่อปัจจัยแวดล้อม พบว่า ตัวกะปิมีพฤติกรรม
เข้าหาด้านมืดและดินร่วนมากกว่าด้านสว่าง เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้นตัวกะปิจะมีพฤติกรรมเลือกแหล่งที่อยู่ที่มีสภาพมืดและดินร่วนมากกว่าสว่าง และดินทราย จึงได้ทดลองนำตัวกะปิย่อยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่แตกต่างกัน โดยพบว่า ตัวกะปิย่อยใบมันสำปะหลังได้ดีที่สุด มีอัตราการที่ร้อยละ 65.41±4.44 รองลงมาคือย่อยใบยางพาราโดยมีอัตราการย่อยร้อยละ 53.92±2.96 และย่อยใบอ้อยมีอัตราการย่อยร้อยละ 37.42±2.76 ตามลำดับ จึงได้ประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ได้ไปทดลองปลูกผักกาดหอม (Lactuca sativa L.) พบว่า ผักกาดหอมที่ปลูกโดยใช้ดินผสมในอัตราส่วน ดิน ต่อ วัสดุที่ได้จากย่อยใบมันสำปะหลังของตัวกะปิ 1:3 และ 2:2 มีค่าเท่ากันคือมีความสูง 4.67±0.58 เซนติเมตร จำนวนใบ 3.00±0.00 ใบ ตามลำดับ ซึ่งใกล้เคียงกับการปลูกโดยใช้ดินเพาะกล้าตามท้องตลาด