เปรียบเทียบปริมาณของแป้งฟักทองและแป้งมันเทศต่อการย่อยสลายของแผ่นฟิล์มชีวภาพ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ปิยาพัชร อนันตศักดิ์, ณัฐนิชา พั่วตา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฏฐพัชร์ เพ็ชรศรีกุล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบันปัญหาขยะพลาสติกเป็นหนึ่งในปัญหาของประเทศไทย เนื่องจากมนุษย์มีการใช้พลาสติกในทุกๆด้านของชีวิตไม่ว่าจะการใช้ชีวิตประจำวันหรือด้านอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเพราะพลาสติกที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนั้น ใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายค่อนข้างนานและทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลาสติกอยู่เป็นจำนวนมากก็คือ อุตสาหกรรมการเกษตรเนื่องจากมีการเพาะพันธ์ต้นไม้อยู่ตลอดทำให้มีการใช้แผ่นฟิล์มทางการเกษตรเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นฟิล์มที่ใช้คลุมดินหรือถุงเพาะชำซึ่งทำให้เกิดขยะพลาสติกจากการใช้วัสดุเหล่านี้เป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน

ฟักทอง(cucurbita moschata decne.) และ มันเทศ(Ipomoea batatas (L.) Lam.) เป็นพืชที่มีราคาต่ำและหาซื้อได้ง่ายในท้องถิ่น การนำมาใช้งานยังช่วยเพิ่มมูลค่าและลดการสูญเสียผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วยเนื่องจากมันเทศมีส่วนประกอบของแป้งสามารถย่อยสลายได้ง่าย จากข้อดีดังกล่าวจึงมีความเป็นไปได้ในการนำมาผลิตแผ่นฟิล์มย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

จากที่ผู้จัดทำได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวและต้องการที่จะแก้ไขจึงมีการจัดทำแผ่นฟิล์มที่ได้จากการสกัดแป้งจากฟักทองและมันเทศที่สามารถย่อยสลายได้เพื่อนำมาพัฒนาเป็นแผ่นฟิล์มพลาสติกชีวภาพและใช้ทดแทนแผ่นฟิล์มพลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตร