ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเอนไซม์โบรมิเลนในสับปะรดกับการขจัดคราบเลือด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปพิชญา ครองเพชร, ชัญญานุช หมื่นไธสง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ศิตา ทวีกาญจน์, พิชญานันท์ บุญแรม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
สับปะรดเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่อุดมไปด้วยวิตามินซีธาตุโพแทสเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุสังกะสีกรดโฟลิก วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 เป็นต้น และนอกจากนี้สับปะรดยังมีเอนไซม์โบรมิเลน ซึ่งเอนไซม์โบรมิเลนอยู่ในกลุ่มของเอนไซม์โปรติเอส ที่มีคุณสมบัติในการย่อยโปรตีน โดยเลือดนั้นมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยพลาสมาประมาณ 55 % และในพลาสมานั้นมีส่วนประกอบของโปรตีนรวมอยู่ด้วยโดยมีประมาณ 7% แต่ในการทดลองนี้ทางผู้จัดทำจะนำเลือดหมูมาใช้ เนื่องจากเลือดหมูนั้นมีโครงสร้างของเลือดคล้ายกับของมนุษย์ โดยอ้างอิงจาก Hematocrit ในเลือดหมูมีประมาณ 38-50% ถ้าเปรียบเทียบกับของมนุษย์คือ 35-45% ดังนั้นผู้จัดทำจึงมีความสนใจในการนำเอาเลือดหมูมาใช้ในการทดลองแทนเลือดของมนุษย์ และเมื่อเสื้อผ้าเปื้อนเลือดมักซักออกยาก ผู้จัดทําจึงมีความสนใจที่จะใช้เอนไซม์โบรมิเลนในสับปะรดมาช่วยย่อยโปรตีนในเลือดหมู จึงสนใจศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณเอนไซม์โบรมิเลนกับการขจัดคราบเลือด ในการทดลองได้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เอนไซม์โบรมิเลนจากส่วนเนื้อ และเอนไซม์โบรมิเลนจากส่วนเนื้อผสมแกน การสกัดเอนไซม์โบรมิเลนจะแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่หนึ่งคือ สกัดอย่างง่าย ใช้เนื้อ 1,000 กรัมมาปั่นรวมกับน้ํา 1,000 มิลลิลิตร แล้วแยกกากออกให้เหลือแต่ส่วนน้ําโดยใช้ผ้าขาวบาง ทําซ้ําโดยเปลี่ยนเป็นเนื้อ 500 กรัม และแกน 500 กรัม ปั่นกับน้ํา 1,000 มิลลิลิตร และขั้นตอนที่สองคือ การสกัดแบบเคมี ทําเช่นเดียวกับการสกัดอย่างง่ายแต่นําน้ําที่ได้นั้นมาเติมแอมโมเนียม ซัลเฟตที่ความเข้มข้นตามที่กำหนดคือ 0.5% 1% 1.5% และ 2% ตามลำดับ แล้วจากนั้นจึงนําไปใส่ตู้เย็นที่อุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียส และหลังจากนั้นนำมาทําให้แห้งด้วยกระบวนการ freeze dry ต่อมานําผ้าฝ้ายที่แช่เลือดเต็มแผ่นในขนาดผ้า 8x8 เซนติเมตร และนําไปแช่ในน้ําเอนไซม์โบรมิเลน ถ่ายรูปก่อนและหลังแช่ผ้าฝ้ายหลังจากนั้นนำภาพที่ได้ทั้งก่อนและหลังมาเข้าแอพ GIMP และปรับเป็นโหมด Grayscale โดยเราจะดูจากค่า CMYK โดยค่าที่เราจะใช้คือค่า K หรือ black และนำค่าที่ได้ไปเก็บใน google sheets จากการเปรียบเทียบค่า Grayscale พบว่าปริมาณที่ดีที่สุดคือ เนื้อสับปะรดและแกนสับปะรด 175 มิลลิลิตร และระยะเวลาที่ดีที่สุดคือ 20 40 60 ตามลำดับ และทำซ้ำในการสกัดแบบเคมี พบว่าในการสกัดแบบเคมีนั้นที่ความเข้มข้น 1% สามารถขจัดคราบเลือดบนผ้าฝ้ายได้ดีที่สุด