การเปรียบเทียบการดูดซับเสียงของเส้นใยกาบหมากและเส้นใยเปลือกข้าวโพด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อภิมนตรี นักเป่า, กันต์พงษ์ อนุรักษ์เจริญ, พสุธา หินสูงเนิน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
แก่นจันทร์ งิสันเทียะ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันมีเปลือกข้าวโพดและกาบหมากมากมายที่เหลือจากการบริโภคแล้วนำไปทิ้งโดยไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ ทำให้เกิดผลเสียมากมายต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางอากาศ ที่เกิดจากการเผาก่อให้เกิด ภาวะโลกร้อน มลพิษทางน้ำที่เกิดจากการทิ้งเศษเปลือกข้าวโพดและกาบหมาก
ทางคณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นว่าเส้นใยจากเปลือกข้าวโพดและเส้นใยกาบหมากนั้นสามารถนำไปทำเป็นวัสดุดูดซับเสียงได้ โดยได้เห็นถึงคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของเส้นใยกาบหมาก ซึ่งมีความแข็งแรง มีรูพรุนซึ่งเหมาะกับการนำมาทำเป็นวัสดุดูดซับเสียง โดยดำเนินการสกัดเส้นใยด้วย Titanium dioxide จากเส้นใยกาบหมากและเส้นใยข้าวโพดที่หาได้ทั่วไปในครัวเรือนหรือท้องตลาด ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์อีกด้วย