การผลิตฟิล์มปุ๋ยคลุมต้นกล้าพืชจากเปลือกกล้วย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐชยา บินมาดี, ณัฐชยา ธีระกุลพิศุทธิ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กัณฐาภรณ์ คงอินทร์, ประกอบกิจ แหลมม่วง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิเชียรมาตุ

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

กล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยมีพื้นที่ปลูกกล้วยประมาณ 866,410 ไร่ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมจึงส่งผลให้ปลูกง่าย ได้ผลผลิตเร็วและสามารถนำมาให้ประโยชน์ได้ทั้งหัวปลี ลำต้น ใบและผล ในรูปแบบของการแปรอาหาร พิธีกรรมหรือรวมทั้งยารักษาโรคจากการศึกษาข้อมูล การใช้ประโยชน์ในส่วนต่างๆของกล้วย พบว่าเปลือกกล้วยไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ทำให้กระบวนการแปรรูปของกล้วยก่อให้เกิดเปลือกกล้วยเหลือทิ้งเป็นขยะจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ส่งกลิ่นเหม็นเน่า และเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรค อย่างไรก็ตามขยะเหล่านี้ได้ถูกกำจัดหรือใช้ประโยชน์ เช่น การทำปุ๋ยหมักจากเปลือกกล้วย (ประยูร, 2547) การผลิตถ่านและถ่านกัมมันต์จากเปลือกกล้วยและก้านเครือกล้วย (สัมฤทธิ์, วิจิตร, สุรัตน์, และเริงนภรณ์, 2548) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาคุณสมบัติสารคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC) ที่มีอยู่ภายในเปลือกกล้วย ที่จัดเป็นพอลิเมอร์ชนิดชอบน้ำ (hydrophilic) ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของเซลลูโลสเกิดจากการปรับปรุงสมบัติของเซลลูโลสเป็นของแข็ง สีขาว ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่เป็นอันตราย ไม่เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และละลายน้ำได้ดี จึงมีสมบัติเป็นสารเพิ่มความหนืดที่ช่วยในการยึดเกาะและใช้เป็นสารคงสภาพได้ สังเคราะห์ได้จากพืชหลากหลายชนิดที่ให้เซลลูโลสในปริมาณสูงเป็นสารเริ่มต้นในการทำผลิตภัณฑ์พลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติโดยการย่อยสลายได้ด้วยวิธีการนำไปฝังดินและการละลายในน้ำ

ทางคณะผู้จัดทำมีความสนใจและได้จัดทำโครงงานเรื่อง การผลิตฟิล์มปุ๋ยคลุมต้นกล้าพืชจากเปลือกกล้วย โดยการสกัดเซลลูโลสจากเปลือกกล้วยแล้วนำมาสังเคราะห์สารคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC) เพื่อขึ้นรูปเป็นฟิล์มเพื่อลดปัญหาขยะของเปลือกกล้วยเหลือใช้รวมถึงปัญหาของพลาสติกคลุมต้นกล้าพืชที่ไม่ย่อยสลายและยังสามารถเพิ่มมูลค่าของขยะจากเปลือกกล้วยที่ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด