การเปรียบเทียบสารอาหารในนมถั่วเหลือง กับ นมถั่วลายเสือ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นภัสพร บุญหล่อ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พัทยา ยะมะโน, อินทราภรณ์ เพ็ญจิตต์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนปายวิทยาคาร

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์

เรื่อง การเปรียบเทียบสารอาหารในนมถั่วเหลือง กับ นมถั่วลายเสือ

โดย

นางสาวนภัสพร บุญหล่อ

นางสาวรัฐชฎาภรณ์ หงษ์ยัน

นางสาวศนิดา หว่างปอ

อาจารย์ที่ปรึกษาจากโรงเรียนปายวิทยาคาร

คุณครูพัทยา ยะมะโน

โรงเรียนปายวิทยาคาร อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 กระทรวงศึกษาธิการ

ชื่อโครงงาน

เปรียบเทียบสารอาหารในนมถั่วเหลือง กับ นมถั่วลายเสือชื่อผู้จัดทำ

นางสาวนภัสพร บุญหล่อ

นางสาวรัฐชฎาภรณ์ หงษ์ยัน

นางสาวศนิดา หว่างปอ

1.ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน

3.1อาจารย์ที่ปรึกษาจากโรงเรียน

คุณครูพัทยา ยะมะโน

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

ถั่วลายเสือ จัดอยู่ในวงศ์ถั่วฝักเมล็ดกลม (pea) และอยู่ในวงศ์ย่อย ถั่ว pulse เป็นไม้ล้มลุก มีตัวถั่วอยู่ใต้ดินเป็นฝักที่มีเมล็ดกลม ลำต้นโผล่พ้นผิวดินมีกิ่งก้านแตกออกจากลำต้น มีใบเดี่ยวออกมาจากก้านประมาณ 4 ใบ เรียงตรงข้ามเป็นคู่ มีสีเขียว ลักษณะคล้ายผีเสื้อ กลีบดอกจะมีสีเหลือง ผลออกเป็นฝัก จะออกที่ใต้ดิน ฝักมีลักษณะทรงกลมยาว มีลายเส้นชัดเจน มีเปลือกหนาแข็งเปราะ มีสีน้ำตาล มีเมล็ดเรียงอยู่ภายในฝัก มีหลายเมล็ด มีลักษณะทรงกลมรี สำหรับในประเทศไทยนิยมปลูกกันมากใน จังหวัดแม่ฮ่องสอน (เว็บไซต์ออนไลน์saimrath ,20๖0) ซึ่งในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ทำให้มีการสร้างพืชเศรษฐกิจจำนวนมาก หนึ่งในนั้นก็คือ ถั่วลายเสือ

ประโยชน์จากถั่วลายเสือ มีโปรตีนสูง แต่นอกจากโปรตีนแล้ว ยังมีสรรพคุณบำรุงประสาทตา บำรุงสมอง เสริมสร้างความจำ ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต มีสารออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง ช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญ อีกทั้งยังมีเส้นใยอาหาร เป็นประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย และพิเศษสำหรับสตรีที่ต้องให้นมบุตรถั่วลายเสือจะช่วยบำรุงน้ำนมได้ดี และถั่วอีกชนิดที่มีสารอาหารสูงมากและเป็นที่รู้จักกันอย่างมากมาย ก็คือ ถั่วเหลือง ผู้คนจึงนิยมนำมาทำเป็นนมถั่วเหลือง

ทางคณะผู้จัดทำจึงได้ตั้งโจทย์วิจัยและเล็งเห็นถึงการเปรียบเทียบระหว่างหนึ่งในพืชเศรษฐกิจของ จังหวัดแม่ฮ่องสอน กับ ถั่วเหลืองซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามถั่วที่มีสารอาหารสูงจึงนำมาแปรรูปเป็นนมถั่วเหลือง คณะผู้จัดทำจึงได้เริ่มศึกษาขั้นตอนการทำนมถั่วเหลืองอย่างถ่องแท้ และได้เตรียมการทดลองสำหรับการทำนมถั่วลายเสือ โดยใช้วิธีเช่นเดียวกันกับการทำนมถั่วเหลือง แล้วทำการทดสอบสารอาหารหลักที่มีอยู่ในนมถั่วทั้ง 2 ชนิด

2.สมมติฐานในการทดลอง

ถ้าถั่วลายเสือมีโปรตีนสูงกว่าถั่วเหลือง ดังนั้นถั่วลายเสือก็สามารถนำมาทำเป็นนมถั่วลายเสือแทนนมถั่วเหลืองได้

3.วัตถุประสงค์

1.เพื่อตรวจสารอาหารหลักที่มีอยู่ในนมถั่วเหลือง และ นมถั่วลายเสือ

2.เพื่อเปรียบเทียบสารอาหารระหว่างนมถั่วเหลือง กับ นมถั่วลายเสือ

3.เพื่อค้นคว้าหาช่องทางการได้รับสารอาหารหลักจากถั่วที่มีมาก แต่ค่าใช้จ่ายน้อย

4.ขอบเขตของการศึกษา

1.ถั่วที่ใช้ในการศึกษา เป็น ถั่วเหลืองที่วางขายตามท้องตลาด ของยี่ห้อไร่ทิพย์

2.ขอบเขตพื้นที่ในการศึกษา การทดลองนี้ทำการทดลองการทดลอง ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โรงเรียนปายวิทยาคาร อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

5.วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้

1.เครื่องปั่น

2.ผ้ากรอง

3.หม้อ

4.ถ้วย

5.ทัพพี

6.ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม

7.ถั่วลายเสือ 1 กิโลกรัม

8.สารละลายไอโอดีน

9.สารละลายเบเนดิกต์

10.สารละลายไบยูเรต

11.กระดาษ A4

12.บีกเกอร์

13.หลอดหยด

14.ตะเกียง

15.ไฟแช็ค

  1. แนวทางการศึกษาค้นคว้า

ตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูล ของถั่วลายเสือ

  1. ที่มาและความสำคัญของถั่วลายเสือ

  2. ศึกษาลักษณะของถั่วลายเสือ

  3. ศึกษาประโยชน์และสารอาหารของถั่วลายเสือ

  4. ศึกษาประโยชน์และสารอาหารของถั่วลายเหลือง

  5. เปรียบเทียบประโยชน์และสารอาหารของถั่วเหลืองกับถั่วลายเสือจากการค้นคว้า

6.ทำการทดลองนำถั่วลายเสือมาทำเป็นนมด้วยวิธีเดียวกับการทำนมถั่วเหลือง

  1. ทดสอบสารอาหารหลัก โดยใช้สารต่างๆ พร้อมบันทึกผล

8.สรุปผลการทดลองในการเปรียบเทียบสารอาหารหลักของนมถั่วเหลืองกับนมถั่วลายเสือ

ตอนที่ 2 การทำนมถั่ว

1.ล้างถั่วเหลือง ให้สะอาดแช่ถั่วเหลืองด้วยน้ำ ไว้ประมาณ3-4 ชม.

  1. นำถั่วเหลืองที่แช่ไว้ไปปั่นให้ละเอียด

3.เอาผ้ามากรองแล้วบีบน้ำถั่วเหลืองออกให้หมด

4.นำน้ำถั่วเหลืองไปต้มในหม้อใส่น้ำเล็กน้อย คนให้เข้ากันรอจนเดือด แล้วก็จะได้น้ำเต้าฮู้จากถั่วเหลือง

5.นำถั่วลายเสือมาทำตามขั้นตอนข้างต้น

ตอนที่ 3 การทดสอบสารอาหารหลัก

  1. แยกนมถั่วเหลือง และนมถั่วลายเสือ ลงในบีกเกอร์จำนวน 3 บีกเกอร์ในปริมาณที่เท่ากัน

  2. หยดสารละลายไอโอดีนจำนวน 5 หยด ลงในนมถั่วเหลือง และนมถั่วลายเสือ ของบีกเกอร์ที่ 1 เขย่าให้เข้ากัน สังเกตและบันทึกผล

  3. หยดสารละลายเบเนดิกต์จำนวน 5 หยด ลงในนมถั่วเหลือง และนมถั่วลายเสือ ของบีกเกอร์ที่ 2

    แล้วนำไปต้มจนเดือด สังเกตสีของตะกอนและบันทึกผล

  4. หยดสารละลายไบยูเรตจำนวน 5 หยด ลงในนมถั่วเหลือง และนมถั่วลายเสือ ของบีกเกอร์ที่ 3

    เขย่าให้เข้ากัน สังเกตและบันทึกผล

  5. นำนมถั่วเหลือง และนมถั่วลายเสือหยดบนกระดาษ A4 สังเกตและบันทึกผล

ตอนที่ 4 ตารางบันทึกผล

บีกเกอร์ที่สารอาหารสารที่ใช้ทดสอบผลการสังเกต

1นมถั่วเหลืองสารละลายไอโอดีน

1นมถั่วลายเสือสารละลายไอโอดีน

2นมถั่วเหลืองสารละลายเบเนดิกต์

2นมถั่วลายเสือสารละลายเบเนดิกต์

3นมถั่วเหลืองสารละลายไบยูเรต

3นมถั่วลายเสือสารละลายไบยูเรต

-นมถั่วเหลืองกระดาษA4

-นมถั่วลายเสือกระดาษA4

7.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

  • วางแผนการทำโครงงาน

  • ศึกษาการทำนมถั่วเหลือง แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับถั่วลายเสือ

  • จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับทำนมถั่วเหลือง และ ถั่วลายเสือ

-ทำนมถั่วทั้ง 2 ชนิด

-หยดสารต่างๆ ทดสอบสารอาหารหลักในนมถั่วทั้ง 2 สังเกตแล้วบันทึกผลลงในตาราง

-สรุปและอภิปรายผล

8.ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. สามารถเปรียบเทียบสารอาหารระหว่างนมถั่วเหลือง กับ นมถั่วลายเสือ

  2. สามารถนำหนึ่งในพืชเศรษฐกิจของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็คือถั่วลายเสือที่มีสารอาหารหลักมากมาแปรรูปเป็นนมถั่วลายเสือ เช่นเดียวกันกับยมถั่วเหลือง

9.เอกสารอ้างอิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.2562.ถั่วเหลือง (ออนไลน์). สืบค้นได้จาก http://www.chiangmainews.co.th

สืบค้นเมื่อ วันที่ 14/09/2562

กองบรรณาธิการ HONESTDOCS. 2562. นมถั่วเหลือง (ออนไลน์). สืบค้นได้จาก http://www.agro.cmu.ac.th

สืบค้นเมื่อวันที่ 14/09/2562

ถั่วลายเสือ ประโยชน์ดุ กินมันส์. 2560. ถั่วลายเสือ (ออนไลน์). สืบค้นได้จาก www.thaibynature.com

สืบค้นเมื่อ วันที่ 14/09/2562